Abstract:
การศึกษาเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติและความจําเป็นเกี่ยวกับการฝึกอบรมในการก้าวสู่ประชาคมอาเซียนของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลศูนย์สกลนครและเปรียบเทียบความแตกต่างของความรู้ ทัศนคติ และความจําเป็นเกี่ยวกับการฝึกอบรม ในการก้าวสู่ประชาคมอาเซียนของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลศูนย์สกลนครที่มีประสบการณ์ การทํางาน แผนกที่ปฏิบัติงาน และตําแหน่งงานแตกต่างกันกลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานหอผู้ป่วยในแผนกต่าง ๆ ของโรงพยาบาลศูนย์สกลนคร มีประสบการณ์ในการทํางาน มาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี จํานวน 256 คน คัดเลือกโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบวัดความรู้ในการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน และแบบสอบถามทัศนคติในการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน และแบบสอบถามความจําเป็นเกี่ยวกับ การฝึกอบรมในการก้าวสู่ประชาคมอาเซียนมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .77, .88, .97 ตามลําดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าสูงสุดค่าต่ําสุด ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที่การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธี LSD (Least Significant Difference) ผลการศึกษาพบดังนี้ 1. พยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลศูนย์สกลนครมีความรู้ในการก้าวสู่ประชาคมอาเซียนโดยรวมอยู่ในระดับควรปรับปรุง (M =13.39, SD = 3.478) ทัศนคติในการก้าวสู่ประชาคมอาเซียนโดยรวมอยู่ในระดับดี (M = 3.94, SD = 0.734) และความจําเป็นเกี่ยวกับการฝึกอบรมในการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน อยู่ในระดับมีความจําเป็นมาก (M = 4.08, SD = 0.665) 2. พยาบาลวิชาชีพที่มีประสบการณ์การทํางานแตกต่างกันมีความรู้ ทัศนคติ และความจําเป็นเกี่ยวกับการฝึกอบรมในการก้าวสู่ประชาคมอาเซียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญที่ .05 พยาบาลวิชาชีพที่มีแผนกที่ปฏิบัติงานแตกต่างกันมีทัศนคติเกี่ยวกับการก้าวสู่ประชาคม อาเซียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญที่ .05 พยาบาลวิชาชีพที่มีตําแหน่งงานแตกต่างกันมีทัศนคติและความจําเป็นเกี่ยวกับการฝึกอบรมในการก้าวสู่ประชาคมอาเซียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญ ที่ .05 ผลการศึกษานี้เสนอแนะให้ผู้บริหารทางการพยาบาลใช้ข้อมูลที่ได้จากการศึกษานี้ ในการวางแผนพัฒนาบุคลากรพยาบาลโดยคํานึงถึงประสบการณ์การทํางาน แผนกการปฏิบัติงาน และตําแหน่งงานและกําหนดนโยบายที่เกี่ยวกับการพัฒนาบุคลากรทางการพยาบาลให้มีความรู้ในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน