Abstract:
ความฉลาดทางอารมณ์และพัฒนาการทางภาษา เป็นพื้นฐานสําคัญของพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของเด็ก โดยเฉพาะในเด็กปฐมวัยเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมในการส่งเสริมการเรียนรู้ การวิจัยครั้งนี้เป็นแบบกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการเรียนรู้ ด้วยการเล่านิทานต่อความฉลาดทางอารมณ์และพัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัย กลุ่มตัวอย่าง คัดเลือกโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน คือผู้ปกครองและเด็กปฐมวัยอายุ 4-5 ปีที่ศึกษา ณ โรงเรียนแห่งหนึ่ง สุ่มเข้ากลุ่มทดลอง 26 คู่ ได้รับโปรแกรมสํงเสริมการเรียนรู้ด้วยการเล่านิทาน ซึ่งพัฒนามาจากทฤษฏีการเรียนรู้ทางปัญญาสังคมของแบนดูรา ประกอบด้วย 4 กระบวนการ คือ การใส่ใจการจำการเลียนแบบ และการจูงใจ และกลุ่มควบคุม 27 คู่ได้รับการจัดกิจกรรมตามปกติ เครื่องมือวิจัยคือ แบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์สําหรับเด็กวัยก่อนเรียน และแบบประเมินพัฒนาการด้านภาษา มีคําความเชื่อมั่นเท่ากับ .91 และ .95 ตามลําดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา การทดสอบไคสแควร์ และการทดสอบทีแบบสองกลุ่มเป็นอิสระต่อกัน ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังได้รับโปรแกรมสํงเสริมการเรียนรู้ด้วยการเลํานิทาน เด็กปฐมวัยในกลุ่มทดลองมีคะแนนความฉลาดทางอารมณ์สูงกว่าเด็กในกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ทั้งคะแนนโดยรวม (t= 7.40, p< .001) และคะแนนรายด้านทั้งสามด้าน คือ ดี เก่ง และสุข (t= 8.74, t= 8.96และt= 2.60, p< .001 ตามลําดับ) แต่พัฒนาการทางภาษาของเด็กทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน (p> .05) ผลการวิจัยครั้งนี้ให้ข้อเสนอแนะว่าผู้ปกครองและครูผู้ดูแลเด็ก ควรนําโปรแกรมส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยการเล่านิทานไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์ให้กับเด็กปฐมวัย