DSpace Repository

ผลของการใช้รูปแบบการบริการการพยาบาลเชิงวิชาชีพต่อการรับรู้บทบาทมารดาครรภ์แรกที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

Show simple item record

dc.contributor.advisor พวงรัตน์ บุญญานุรักษ์
dc.contributor.advisor สหัทยา รัตนจรณะ
dc.contributor.author สุทัศนา ลิขิตกุลธนพร
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T03:01:40Z
dc.date.available 2023-05-12T03:01:40Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6510
dc.description วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)-- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstract การดำเนินบทบาทมารดาอย่างเหมาะสมส่งผลต่อการเจริญเติบโตทางด้านร่างกาย จิตอารมณ์ของบุตร การบริการการพยาบาลเชิงวิชาชีพเป็นการส่งเสริมบทบาทอิสระของพยาบาล ในการส่งเสริมและสนับสนุนให้มารดาสามารถดำเนินบทบาทได้อย่างมั่นใจ การศึกษาผลของการใช้รูปแบบการบริการการพยาบาลเชิงวิชาชีพต่อการรับรู้บทบาทมารดาของมารดาครรภ์แรกที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ครั้งนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบค่าคะแนนเฉลี่ย การรับรู้บทบาทมารดาของมารดาครรภ์แรกที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างคือ มารดาครรภ์แรกที่มาคลอดในโรงพยาบาลชลบุรี ที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนด คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยการสุ่มอย่างอย่างง่าย จำนวน 40 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 20 คน และกลุ่มควบคุม 20 คน กลุ่มทดลองได้รับปฏิบัติการพยาบาลตามรูปแบบการบริการการพยาบาลเชิงวิชาชีพ จำนวน 5 กิจกรรม และกลุ่มควบคุมได้รับการปฏิบัติการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล และแบบสอบถามการรับรู้ บทบาทมารดา ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค เท่ากับ .93 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ พรรณนา การทดสอบค่าที การทดสอบไคสแควร์ และการทดสอบของฟิชเชอร์ ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลองกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้บทบาทมารดาสูงกว่ากลุ่มควบคุมทั้งโดยรวมและรายด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และคะแนนเฉลี่ย การรับรู้บทบาทมารดาของกลุ่มทดลองภายหลังการทดลอง สูงกว่าก่อนการทดลองทั้งโดยรวม และรายด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า รูปแบบการบริการการพยาบาลเชิงวิชาชีพที่ผู้วิจัย สร้างขึ้นสามารถเพิ่มการรับรู้บทบาทมารดาได้ ดังนั้นพยาบาลสามารถนำรูปแบบบริการพยาบาลนี้ ไปประยุกต์ในการดูแลมารดาหลังคลอดและผู้บริหารทางการพยาบาลควรกำหนดแนวทางเพื่อสนับสนุนให้มารดามีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และประสบความสำเร็จในการปฏิบัติบทบาทมารดา
dc.language.iso th
dc.publisher คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject พยาบาลวิชาชีพ
dc.subject มารดาและเด็ก
dc.subject มารดาและบุตร -- การดูแล
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล
dc.title ผลของการใช้รูปแบบการบริการการพยาบาลเชิงวิชาชีพต่อการรับรู้บทบาทมารดาครรภ์แรกที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่
dc.title.alternative Effects of professionl nursing service model on perception of mternl role mong first-time mothers with brestfeeding
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative Effective maternal role performance leads to the development of physical, psychological and emotional of infant. Professional nursing service enhances independent nursing role in promoting and supporting mothers to be confident in performing maternal role. The purpose of this quasi-experimental research was to examine the effect of Professional Nursing Service Model on perception of maternal role in first-time mothers with breastfeeding. The samples were 40 first-time mothers who gave a birth at Chon Buri hospital and met the inclusion criteria. They were randomly selected to participate in the study and were divided into two groups: 20 in the experimental group and 20 in the control group. The experimental group received the Professional Nursing Service Model comprised of 5 activities. The control group received regular nursing care. Data were collected by the Personal Information Questionnaire and the Maternal Role Questionnaire. The Cronbach’s alpha reliability of questionnaire was 93. Data were analyzed by using descriptive statistics, t-test, Chi-square test, and Fisher’s exact test. The results of the study revealed that the mean scores of perception of maternal role in the experimental group were statistically significant higher than those in control group at .05 level. For the experimental group, mean scores of perception of maternal role after the experiment was higher than before experiment in both overall scores and each component at .05 level. The research results indicate that the Professional Nursing Service model which was developed by the researcher cloud increase perception of maternal role. It is suggested that responsible nurses can apply this model to provide care for postpartum mothers. Nurse administrators also should use the results of this study in developing protocol to support mothers with breastfeeding to perform maternal role effectively.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การบริหารการพยาบาล
dc.degree.name พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account