Abstract:
ความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานส่งผลต่อการดูแลสุขภาพและคุณภาพชีวิต การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาความสัมพันธ์เชิงทํานายเพื่อศึกษาความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวาน และปัจจัยทํานายความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานที่มารับบริการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ จํานวน 100 ราย โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการ สุ่มแบบง่ายจับฉลาก แบบไม่คืนที่ เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือน กรกฎาคม ถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2559 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งเป็น 6 ส่วน ได้แก่แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุ แบบสอบถามการเข้าถึงบริการสุขภาพ แบบสอบถามการเห็นคุณค่าในตนเอง แบบสอบถามความว้าเหว่ และแบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวาน มีค่าเฉลี่ยความผาสุกทางใจโดยรวมเท่ากับ 56.74 (SD = 9.17) จากการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอนพบว่า การสนับสนุนทางสังคม การเข้าถึง บริการสุขภาพ และการเห็นคุณค่าในตนเองร่วมกันทํานายปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผาสุกทางใจได้ ร้อยละ 74.5 (R2 = .745, F = 93.546, p< .001)โดยตัวแปรที่สามารถทํานายความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุที่เป็ นโรคเบาหวานได้สูงที่สุด คือ การสนับสนุนทางสังคม (β =.342, p < .001) รองลงมา คือ การเข้าถึง บริการสุขภาพ (β = .335, p < .001) และการเห็นคุณค่าในตนเอง (β = .302, p < .001)โดยสมการทํานาย ความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานในรูปคะแนนมาตรฐาน คือ Zความผาสุกทางใจ = .342 (Zการสนับสนุนทางสังคม) + .335 (Zการเข้าถึงบริการสุขภาพ)+ .302 (Zการเห็นคุณค่าในตนเอง) ผลการศึกษาในครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า บุคลากรทางสุขภาพควรให้ความสําคัญและตระหนัก ถึงความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวาน โดยการส่งเสริมการสนับสนุนทางสังคม การเข้าถึง บริการสุขภาพ และการเห็นคุณค่าในตนเองให้เพิ่มขึ้นอันจะเป็นการช่วยเพิ่มความผาสุกทางใจให้กับผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวาน