dc.contributor.advisor |
อาภา หวังสุขไพศาล |
|
dc.contributor.advisor |
นุจรี ไชยมงคล |
|
dc.contributor.author |
ธิดา แต่งประกอบ |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2023-05-12T02:51:33Z |
|
dc.date.available |
2023-05-12T02:51:33Z |
|
dc.date.issued |
2560 |
|
dc.identifier.uri |
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6501 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 |
|
dc.description.abstract |
พฤติกรรมร่วมรู้สึกของพยาบาลในการให้การดูแลผู้ป่วยเป็นสิ่งสำคัญที่สื่อให้ผู้ป่วยและครอบครัวได้รับรู้และเข้าใจการปฏิบัติการพยาบาล การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลัวการทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของกิจกรรมการพยาบาลโดยการมีส่วนร่วมของสมาชิกครอบครัวในผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจต่อพฤติกรรมร่วมรู้สึกของพยาบาลกลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจง จำนวน 20 คน เป็นสมาชิกครอบครัวของผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม โรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานครแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 10 คน ได้รับกิจกรรมการพยาบาลโดยการมีส่วนร่วมของสมาชิกครอบครัว และกลุ่มควบคุม จำนวน 10 คน ได้รับกิจกรรมการพยาบาลตามปกติของหอผู้ป่วยเก็บรวบรวมข้อระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2558 ถึง เดือนตุลาคม พ.ศ. 2559 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ คู่มือกิจกรรมการพยาบาลโดยการมีส่วนร่วมของสมาชิกครอบครัวในผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ และแบบสอบถามพฤติกรรมร่วมรู้สึกของพยาบาล มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .98 วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติพรรณนา และการทดสอบที ผลการวิจัย พบว่า ผลต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนการรับรู้พฤติกรรมร่วมรู้สึกของพยาบาล (ระหว่างภายหลังกับก่อนการใช้กิจกรรมการพยาบาล) ในกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t= -7.85, p< .001) และในกลุ่มทดลองคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมร่วมรู้สึกของพยาบาลภายหลังการใช้กิจกรรมการพยาบาลสูงกว่าก่อนการใช้กิจกรรมการพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t= 8.79, p< .001) ผลการวิจัยนี้ให้ข้อเสนอแนะว่า พยาบาลสามารถนำกิจกรรมการพยาบาลโดยการมีส่วน ร่วมของสมาชิกครอบครัวไปใช้ในการปฏิบัติการพยาบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในหอผู้ป่วยที่มีบริบททำนองเดียวกันนี้เพื่อส่งผลให้สมาชิกครอบครัวผู้ป่วยมีการรับรู้ต่อพฤติกรรมร่วมรู้สึกของพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยไปในทางที่ดี |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.rights |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.subject |
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล |
|
dc.subject |
พยาบาล -- การบริหาร |
|
dc.title |
ผลของกิจกรรมการพยาบาลโดยการมีส่วนร่วมของสมาชิกครอบครัวในผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจต่อพฤติกรรมร่วมรู้สึกของพยาบาล |
|
dc.title.alternative |
Effects of the nursing ctivities with fmily member’s prticiption in ptients using respirtor on nurses, empthic behvior |
|
dc.type |
วิทยานิพนธ์/ Thesis |
|
dc.description.abstractalternative |
Nurses’ empathic behavior is an important aspect of caring for a patient that could convey perception and understanding about nursing practice to patients and families. This twogroup pretest-posttest quasi-experimental research aimed to examine the effect of the nursing activities with family member’s participation in patients using a respirator on nurses’ empathic behavior. A purposive sampling was used to recruit a sample of 20 caregivers of patients who used a respirator in a medical Intensive Care Unit (ICU) of a tertiary hospital in Bangkok. Ten of participants in the experimental group received the nursing activities with family member’s participation while the other 10 participants in the control group received usual care of the ICU. Data collection was carried out from October, 2015 to October 2016. Research instruments included the manual of the nursing activities with family member’s participation of patients using a respirator and the Nurses’ Empathic Behavior Questionnaire with the reliability of .98. Data were analyzed by using descriptive statistics and t-test. The results revealed that the differences in mean scores of nurses’ empathic behavior (between after and before the intervention) of the experimental group was significantly higher than those in the control group (t = -7.85, p< .001). In the experimental group, the nurses’ empathic behavior after the intervention was significantly higher than those before the intervention (t= 8.79, p< .001). These findings indicate that nurses could apply the nursing activities with family member’s participation in current practice, especially in a ward that has similar context of this study. Consequently, family members of a patient would perceive nurses’ empathic behavior positively. |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
การบริหารการพยาบาล |
|
dc.degree.name |
พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.grantor |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|