dc.contributor.advisor | สุชนนี เมธิโยธิน | |
dc.contributor.advisor | ศรรัฐ เฮงเจริญ | |
dc.contributor.author | ปาริชาติ โลหิตไทย | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2023-05-12T02:47:43Z | |
dc.date.available | 2023-05-12T02:47:43Z | |
dc.date.issued | 2560 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6415 | |
dc.description | งานนิพนธ์ (บธ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 | |
dc.description.abstract | การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาในการบริหารอาคารชุด 2) ศึกษาแนวทางแก้ไขปัญหาในการบริหารอาคารชุดโดยมีการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed method) ในเชิงปริมาณ (Quantitative research) โดยการสำรวจ (Survey research method) และเชิงคุณภาพโดยการประชุมกลุ่ม (Focus group) กับผู้จัดการนิติบุคคลและคณะกรรมการอาคารชุด โดยศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลซึ่งจำแนก 6 ด้าน ได้แก่ เพศ อายุ การศึกษา สถานภาพ อาชีพและรายได้ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้พักอาศัยภายในอาคารชุดเดอะฮักคอนโด บางแสน จังหวัดชลบุรี จำนวน 308 คน โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Average) และส่วนเบี่ยงเลนมาตรฐาน (Standard deviation) สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ ใช้สถิติ One-way ANOVA/ F-test ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อปัญหาในการบริหารอาคารชุดของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 308 คน โดยภาพรวมของระดับปัญหาในการบริหารอาคารชุดอยู่ในระดับปานกลางและในแต่ละด้าน มีระดับปัญหาโดยเรียงจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการเงิน ด้านบำรุงรักษาอาคาร ด้านการบริหารจัดการทั่วไปและด้านบุคลากร ซึ่งทุก ๆ ด้านมีปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง และจากผลการวิจัยความสัมพันธ์ปัจจัยส่วนบุคคลกับปัญหาในการบริหารอาคารชุดโดยวิธี One-way ANOVA/ F-test พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุและรายได้ส่งผลต่อปัญหาในการบริหารอาคารชุด ในขณะที่ปัจจัยส่วนบุคคลด้าน เพศ การศึกษา สถานภาพ อาชีพ ไม่ส่งผลต่อปัญหาในการบริหารอาคารชุดในส่วนของผลการประชุมกลุ่ม (Focus group) พบว่า ปัญหาสัญญาณอินเทอร์เน็ตหลุดบ่อย แก้ไขโดยให้รีเซ็ตระบบอินเทอร์เน็ตและบำรุงรักษาเครื่องกระจายสัญญาณอยู่เสมอ รองลงมา คือ ปัญหาการชำระค่าส่วนกลางล่าช้า แก้ไขโดยแจ้งอัตราค่าปรับสำหรับผู้ที่ค้างชำระโดยอ้างอิง พ.ร.บ.อาคารชุด ปัญหารถไม่มีสติ๊กเกอร์เข้ามาจอด แก้ไขโดยให้ทำการติดแขนกั้นรถยนต์เข้าออกเพื่อป้องกันรถยนต์จากบุคคลภายนอก และปัญหาบุคลากรไม่มีความรู้ความสามารถประสบการณ์ แก้ไขโดยทำการส่งเจ้าหน้าที่ไปอบรมเฉพาะด้านเกี่ยวกับวิชาชีพการบริหารอาคารชุด | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาบริหารธุรกิจ สำหรับผู้บริหาร | |
dc.subject | อาคารชุด -- การบริหาร -- ชลบุรี | |
dc.title | แนวทางการพัฒนาเพื่อการบริหารอาคารชุด กรณีศึกษาเดอะฮักคอนโด บางแสน จังหวัดชลบุรี | |
dc.title.alternative | Development for condominium mngement t the hug condo bngsen chonburi | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | This research had objectives 1) to study the problems of condominium management and 2) to solve problems in condominium management .The mixed method was used to conduct the research. For quantitative research, survey research was used; and for qualitative research, focus group with corporate managers and condominium directors was used by studying the relationship between personal factors which are classified into six categories: sex, age, education, status, occupation and income. In this research, the population consisted of 308 residents of the HugCondo, Bangsaen, Chonburi. Statistics used in data analysis consisted of descriptive statistics, including frequency, percentage, mean, and standard deviation and inferential statistics which was one-way ANOVA/ F-test statistics. The research findings reveled that personal factors affected the problems in condominium management. Of the 308 respondents, the overall level of problems in condominium management was moderate. For each aspect, the problems were put in descending order as follows finance, building maintenance, general management and personnel. The results of relationship between personal factors and the problems of condominium management by Oneway ANOVA / f-test showed that the personal factors of age and income affected the problems of condominium management. While personal factors in terms of gender, education, status, and occupation did not affect the problems of condominium management. The results of the focus group revealed that the first problem, there was the instability of the Internet connection, fix it by always resetting the internet and maintaining the dispenser. Next, there was such as late payment for condo central fund, fix it by notify the fine rate. For those who are overdue. Then, it was the cars without Hug Condo sticker could be parked in the parking lot, fix it by barrier gate car park system. Finally, it was the personnel lacked knowledge and experiences fix it by send staff to training about condominium management course. | |
dc.degree.level | ปริญญาโท | |
dc.degree.discipline | บริหารธุรกิจ สำหรับผู้บริหาร | |
dc.degree.name | บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา |