Abstract:
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้รูปแบบ และกระบวนการสื่อสารภายในองค์กรที่มีผลต่อประสิทธิภาพการสื่อสารของบุคลากรสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เป็นแนวทางในการปรับปรุงการสื่อสารภายในองค์กรให้ถูกต้อง รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น วิธีการดําเนินงานวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือการวิจัยเชิงปริมาณจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นบุคลากร ตําแหน่งข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างประจํา จํานวน 132 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน คือ Independent sample t-test, ANOVA F-test, Multiple linear regression และ Simple linear regression analysisและการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิธีสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริหาร ตําแหน่งผู้อํานวยการส่วน จํานวน 8 คน ผลการวิจัยปรากฏว่า ผู้ตอบแบบส่วนใหญ่ เป็นเพศชาย ช่วงอายุ 36 -45 ปี ตําแหน่งข้าราชการ การศึกษาระดับปริญญาตรี มีประสบการณ์การทํางานช่วง 16 -20 ปี และ 21 ปีขึ้นไป ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า รูปแบบการสื่อสารมีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการสื่อสารที่ระดับนัยสําคัญ 0.05 มีค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ คิดเป็นร้อยละ 60.4 แสดงว่า การสื่อสารจากบนลงล่าง ผู้บังคับบัญชาจะเป็นผู้ออกคําสั่งในการทํางานของหน่วยงาน กำหนดนโยบายและคอยให้คําแนะนํา คําปรึกษาการสื่อสารจากล่างขึ้นบน บุคลากรสามารถเข้าพบผู้บังคับบัญชา เพื่อขอคําปรึกษาแนะนําใน เรื่องเกี่ยวกับงาน หากพนักงานมีปัญหาในการทํางานสามารถแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาทราบได้ตลอดเวลา การสื่อสารแบบแนวนอน พนักงานจะมีการสื่อสารกับเพื่อนร่วมงานและช่วยกันแก้ไขปัญหาส่วนกระบวนการสื่อสารมีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการสื่อสารที่ระดับนัยสําคัญ 0.05 มีค่าสัมประสิทธิ์ การพยากรณ์ คิดเป็นร้อยละ 48.4 โดยกระบวนการสื่อสารที่ใช้ในสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศ ไทย คือ การสื่อสารผ่านช่องทางต่าง ๆ ได้แก่ E-mail โทรสาร โทรศัพท์การค้นหาข้อมูลผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์เช่น line facebook และการสนทนากับผู้เชี่ยวชาญ