Abstract:
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักสามประการ ประการแรก เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกันมีผลต่อความผูกพันของพนักงาน กรณีศึกษา บริษัทฯ ผลิตยางรถยนต์แห่งหนึ่งในจังหวัดระยอง ประการที่สอง เพื่อศึกษาปัจจัยทางจิตวิทยาที่มีผลต่อความผูกพันของพนักงาน กรณีศึกษา บริษัทฯ ผลิตยางรถยนต์แห่งหนึ่งในจังหวัดระยอง และประการที่สาม แนวทางการเพิ่มความผูกพันของพนักงาน กรณีศึกษา บริษัทฯ ผลิตยางรถยนต์แห่งหนึ่งในจังหวัดระยอง ผลวิจัยพบว่าเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย อายุของพนักงานส่วนใหญ่ 20-29 ปี ระดับการศึกษาของพนักงานส่วนใหญ่อยู่ในระดับต่ำกว่าปริญญาตรี สถานภาพสมรสของพนักงาน ส่วนใหญ่โสด รายได้ต่อเดือนของพนักงานส่วนใหญ่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-14,000 บาท ผลวิจัยประการแรก พบว่า เพศ ระดับการศึกษา สถานภาพ และรายได้ที่แตกต่างกันไม่มีต่อความผูกพันต่อองค์กร มีเพียงกลุ่มอายุที่แตกต่างกันที่มีผลต่อความผูกพันที่แตกต่างกัน ด้านความผูกพันความรู้สึก ประการที่สอง พบว่า ปัจจัยทางจิตวิทยาความสัมพันธ์เชิงบวกต่อความผูกพันของพนักงานระดับความผูกพันของพนักงานในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านความรู้สึกในระดับมาก ด้านความผูกพันต่อเนื่องในระดับมาก และด้านบรรทัดฐานทางสังคมอยู่ในระดับปานกลาง ประการที่สาม พบว่า สิ่งที่องค์กรควรส่งเสริมเพื่อเพิ่มความผูกพัน 3 อันดับแรก คือ 1) ส่งเสริมอิสระในการตัดสินใจในงานที่รับผิดชอบให้แก่พนักงานในลักษณะการสามารถตัดสินใจได้ด้วยตนเอง 2) ผู้บังคับบัญชาต้องให้การสนับสนุน ช่วยเหลือพนักงานให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างราบรื่น 3) จัดสรรทรัพยากรให้เพียงพอต่อความจําเป็นเพื่อทํางานให้บรรลุวัตถุประสงค์