DSpace Repository

ปัจจัยที่มีผลต่อการปฎิบัติตามหลักการป้องกัน การติดเชื้อเอดส์ของพยาบาล ในโรงพยาบาลแม่และเด็ก

Show simple item record

dc.contributor.author รัชนี สรรเสริญ
dc.contributor.author นฤมล ธีระรังสิกุล
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T08:52:58Z
dc.date.available 2019-03-25T08:52:58Z
dc.date.issued 2537
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/632
dc.description.abstract โรคเอดส์เป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ ซึ่งมีผลเสียกระทบต่อบุคคล สังคม และเศรษฐกิจของประเทศเป็ยอย่างมาก และปัจจุบันนี้จำนวนผู้ป่วยได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดดเร็ว เจ้าหน้าที่ในทีมสุขภาพไม่อาจทราบได้ว่าผู้ป่วยนั้นติดเชื้อเอดส์หรือไม่ นอกจากจะได้รับการตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อเอดส์ ดังนั้นเจ้าหน้าที่ในทีมสุขภาพจึงจำเป็นต้องปฏิบัติพยาบาล เพื่อเป็นการป้องกันตนเอง และผู้ป่วยอื่นให้ปลอดภัยจากการติดเชื้อเอดส์ จุดประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่าง ความเชื่อด้านสุขภาพ ความรู้เกี่ยวกับโรค สถานที่ปฏิบัติงาน อายุ สถานภาพสมรส ระดับตำแหน่ง ประสบการณ์การปฏิบัติงาน ประสบการณ์การปฏิบัติงานกับผู้ป่วยโรคติดต่อทางเลือด และประสบการณ์ปฏิบัติงานกับผู้ติดเชื้อเอดส์ หรือผู้ป่วยโรคเอดส์ กับการปฏิบัติตามหลักการป้องกันการติดเชื้อเอดส์ของพยาบาล ศึกษาเปรียบเทียบการปฏิบัติพยาบาลตามหลักการป้องกันการติดเชื้อเอดส์ และความรู้ ระหว่างพยาบาลที่ปฏิบัติงานในตึกผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอดส์สูง กับพยาบาลในตึกผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอดส์ต่ำ กลุ่มตัวอย่างเป็น พยาบาลวิชาชีพ พยาบาลเทคนิค เจ้าพนักงานส่งเสริมสุขภาพ และเจ้าหน้าที่ผดุงครรภ์สาธรณสุข ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลแม่และเด็กของกรมอนามัยทุกเขต รวม 7 แห่ง จำนวน 257 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น การวิเคราะห์ข้อมูล โดยการทดสอยค่าที หาค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน สัมประสิทธ์สหสัมพันธ์พหุคูณ วิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน สร้างสมการทำนาย และผลการวิจัยสรุปดังนี้ 1. ความเชื่อด้านสุขภาพและความรู้เกี่ยวกับโรคที่มีความสัมพันธ์ทางบวก กับการปฏิบัติตามหลักการป้องกันการติดเชื้อเอดส์ของพยาบาล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 (r = 0.235 และ 0.229 ตามลำดับ) 2. สถานที่ปฏิบัติงาน มีความสัมพันธ์ทางบวก กับการปฏิบัติพยาบาลตามหลักการป้องกันการติดเชิ้อเอดส์ของพยาบาล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001( r = 0.146) อายุ สถานภาพสมรส ประสบการณ์การปฏิบัติงาน ประสบการณ์ปฏิบัติงานกับผู้ป่วยโรคติดต่อทางเลือด ประสบการณ์ปฏิบัติงานกับผู้ติดเชื่อเอดส์หรือผู้ป่วยโรคเอดส์ และแหล่งความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ที่ได้รับ มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติตามหลักการป้องกันการติดเชื้อเอดส์ของพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) 3. ความเชื่อด้านสุขภาพ ความรู้เกี่ยวกับโรค สถานที่ปฏิบัติงาน และอายุสามารถร่วมทำนายการปฏิบัติพยาบาลตามหลักการป้องกันการติดเชื้อเอดส์ของพยาบาล ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ซึ่งสามารถอธิบาย การปฏิบัติตามหลักการป้องกันการติดเชื้อเอดส์ของพยาบาลได้ร้อยละ 11.7 โดยมีสมการทำนายดังนี้ Y = 7.7+0.32 (B)+0.217 (K)+0.412 (Pr)+0.027 (Age) 4. พยาบาลที่ปฏิบัติงานในตึกผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอดส์สูง มีการปฏิบัติตามหลักการป้องกันการติดเชื้อเอดส์ มากกว่าพยาบาลที่ปฏิบัติงานในตึกผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอดส์ต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) 5. พยาบาลที่ปฏิบัติงานในตึกผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชอเอดส์สูง มีความรู้เกี่วกับโรคเอดส์ มากกว่าพยาบาลที่ปฏิบัติงานในตึกผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอดส์ต่ำ อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) จากการศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะว่าพยาบาลควรปฏิบัติจามหลักการป้องกันการติดเชื้อเอดส์อย่างเคร่งครัด และควรได้เข้ารับการประชุมหรือฝึกอบรมในเรื่องนี้ เพื่อเป็นการเพิ่มพูนความรู้ ความสามารถ ตลอดจนทักษะการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่พยาบาลทุกระดับ และการวิจัยในครั้งต้อไป ควรศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อ การปฏิบัติตามหลักการป้องกันการติดเชื้อเอดส์เช่นบุคลิกภาพ เจตคติ และความสามารภ ในการปฏิบัติงานของกลุ่มตัวอย่าง th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject การติดเชื้อ - - การป้องกันและควบคุม th_TH
dc.subject การติดเชื้อ th_TH
dc.subject วิทยาศาสตร์การแพทย์ th_TH
dc.subject โรคติดเชื้อในโรงพยาบาล th_TH
dc.subject โรคเอดส์ - - การป้องกันและควบคุม th_TH
dc.subject โรคเอดส์ th_TH
dc.title ปัจจัยที่มีผลต่อการปฎิบัติตามหลักการป้องกัน การติดเชื้อเอดส์ของพยาบาล ในโรงพยาบาลแม่และเด็ก th_TH
dc.title.alternative Factors inflence nursing intervention through infectious control and aids guidelines of nursing personnels in maternal and child th_TH
dc.type Research th_TH
dc.year 2537
dc.description.abstractalternative AIDS is an important pubic health problem which has considerably affected individual, society and economy. The number of patient have increased so rapid that the nursing personals couldn’t know whether those patients have HIV+ve unless they were sought HIV antibody testing. Therefore, nursing personals should protect themselves from HIV infection and control its spreading while they gave those patient nursing care. The purposes of this research were to investigate the relationship between health belief , knowledge, work place demographic variables, i.e., age, marital status, position level, experience of working, nursing experience with infectious patients and nursing intervention through infectious control and precaution for AIDS guidelines. Furthermore, The objectives of this study were to compare nursing practice and knowledge, about AIDS, respectively Between nursing personals who worked in the high risk AIDS wards and in the low risk AIDS wards. The sample was composed of 300 nursing personals : professional nurses, technical nurses, health promotion nursed and midwives from Maternal and Child Hospital of Health Division, ministry of Public Health. The data were collected by three kinds of questionnaires : the health belief, knowledge and nursing intervention through infectious control and precaution for AIDS guidelines. Data were analyses by using SPSS program including parson's Product Moment Correlation Coefficient, Multiple Correlation Coefficient, and Stepwise Multiple Regression Analyses. The results of the study revealed as follows: 1. There were statistically significant correlation between health belief (HB), knowledge(K) and nursing intervention through infectious control and precaution for AIDS guidelines. (P<0.001 r = 0.235 and 0.229, respectively) 2. There were statistically significant correlation between work place and nursing intervention through infection control and precaution for AIDS guidelines.(P<0.001, r=0.146) Nevertheless, the study found no statistically significant correlation between age, marital status, experience of working, nursing experience with infectious patients and nursing intervention through infectious control and precaution for AIDS guidelines. (P>0.05) 3. The results of stepwise multiple regression analysis showed that 11.7 percent of the variances of nursing intervention through infection control and precaution for AIDS guidelines, were accounted by four significant predictors: health beliefs (HB), knowledge (K), work place (Pr) and age Y = 7.7+0.32 (B) + 0.217 (K) + 0.412 (Pr) + 0.027 (Age) 4. Nursing personals who work in high risk AIDS wards had better nursing intervention through infectious control and precaution for AIDS guidelines than nursing personals who worked in the low risk AIDS wards at the 0.05 level. 5. The study found no statistical significance about knowledge between nursing personals who worked in the high risk AIDS wards and others who worked in the low risk AIDS wards. (P>0.05) From this study, the recommendations for nursing practice are as follow: nursing personals should perform nursing intervention strictly through infectious control and precaution for AIDS guidelines and be trained the practically preventive AIDD nursing care. Further studies should be conducted on other factors which influence nursing intervention through infectious control and precaution for AIDS guideline such as personality, attitudes and performance of personals


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account