Abstract:
โรคเอดส์เป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ ซึ่งมีผลเสียกระทบต่อบุคคล สังคม และเศรษฐกิจของประเทศเป็ยอย่างมาก และปัจจุบันนี้จำนวนผู้ป่วยได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดดเร็ว เจ้าหน้าที่ในทีมสุขภาพไม่อาจทราบได้ว่าผู้ป่วยนั้นติดเชื้อเอดส์หรือไม่ นอกจากจะได้รับการตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อเอดส์ ดังนั้นเจ้าหน้าที่ในทีมสุขภาพจึงจำเป็นต้องปฏิบัติพยาบาล เพื่อเป็นการป้องกันตนเอง และผู้ป่วยอื่นให้ปลอดภัยจากการติดเชื้อเอดส์ จุดประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่าง ความเชื่อด้านสุขภาพ ความรู้เกี่ยวกับโรค สถานที่ปฏิบัติงาน อายุ สถานภาพสมรส ระดับตำแหน่ง ประสบการณ์การปฏิบัติงาน ประสบการณ์การปฏิบัติงานกับผู้ป่วยโรคติดต่อทางเลือด และประสบการณ์ปฏิบัติงานกับผู้ติดเชื้อเอดส์ หรือผู้ป่วยโรคเอดส์ กับการปฏิบัติตามหลักการป้องกันการติดเชื้อเอดส์ของพยาบาล ศึกษาเปรียบเทียบการปฏิบัติพยาบาลตามหลักการป้องกันการติดเชื้อเอดส์ และความรู้ ระหว่างพยาบาลที่ปฏิบัติงานในตึกผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอดส์สูง กับพยาบาลในตึกผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอดส์ต่ำ กลุ่มตัวอย่างเป็น พยาบาลวิชาชีพ พยาบาลเทคนิค เจ้าพนักงานส่งเสริมสุขภาพ และเจ้าหน้าที่ผดุงครรภ์สาธรณสุข ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลแม่และเด็กของกรมอนามัยทุกเขต รวม 7 แห่ง จำนวน 257 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น การวิเคราะห์ข้อมูล โดยการทดสอยค่าที หาค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน สัมประสิทธ์สหสัมพันธ์พหุคูณ วิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน สร้างสมการทำนาย และผลการวิจัยสรุปดังนี้
1. ความเชื่อด้านสุขภาพและความรู้เกี่ยวกับโรคที่มีความสัมพันธ์ทางบวก กับการปฏิบัติตามหลักการป้องกันการติดเชื้อเอดส์ของพยาบาล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 (r = 0.235 และ 0.229 ตามลำดับ)
2. สถานที่ปฏิบัติงาน มีความสัมพันธ์ทางบวก กับการปฏิบัติพยาบาลตามหลักการป้องกันการติดเชิ้อเอดส์ของพยาบาล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001( r = 0.146)
อายุ สถานภาพสมรส ประสบการณ์การปฏิบัติงาน ประสบการณ์ปฏิบัติงานกับผู้ป่วยโรคติดต่อทางเลือด ประสบการณ์ปฏิบัติงานกับผู้ติดเชื่อเอดส์หรือผู้ป่วยโรคเอดส์ และแหล่งความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ที่ได้รับ มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติตามหลักการป้องกันการติดเชื้อเอดส์ของพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05)
3. ความเชื่อด้านสุขภาพ ความรู้เกี่ยวกับโรค สถานที่ปฏิบัติงาน และอายุสามารถร่วมทำนายการปฏิบัติพยาบาลตามหลักการป้องกันการติดเชื้อเอดส์ของพยาบาล ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ซึ่งสามารถอธิบาย การปฏิบัติตามหลักการป้องกันการติดเชื้อเอดส์ของพยาบาลได้ร้อยละ 11.7 โดยมีสมการทำนายดังนี้
Y = 7.7+0.32 (B)+0.217 (K)+0.412 (Pr)+0.027 (Age)
4. พยาบาลที่ปฏิบัติงานในตึกผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอดส์สูง มีการปฏิบัติตามหลักการป้องกันการติดเชื้อเอดส์ มากกว่าพยาบาลที่ปฏิบัติงานในตึกผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอดส์ต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05)
5. พยาบาลที่ปฏิบัติงานในตึกผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชอเอดส์สูง มีความรู้เกี่วกับโรคเอดส์ มากกว่าพยาบาลที่ปฏิบัติงานในตึกผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอดส์ต่ำ อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05)
จากการศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะว่าพยาบาลควรปฏิบัติจามหลักการป้องกันการติดเชื้อเอดส์อย่างเคร่งครัด และควรได้เข้ารับการประชุมหรือฝึกอบรมในเรื่องนี้ เพื่อเป็นการเพิ่มพูนความรู้ ความสามารถ ตลอดจนทักษะการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่พยาบาลทุกระดับ และการวิจัยในครั้งต้อไป ควรศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อ การปฏิบัติตามหลักการป้องกันการติดเชื้อเอดส์เช่นบุคลิกภาพ เจตคติ และความสามารภ ในการปฏิบัติงานของกลุ่มตัวอย่าง