Abstract:
การวิจัยเรื่อง “คุณภาพชีวิตของบุคลากรสายสนับสนุนในมหาวิทยาลัยบูรพา” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของบุคลากรที่ปฏิบัติงานอยู่ในหน่วยงานสนับสนุน ภายในมหาวิทยาลัยบูรพาและเพื่อศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างคุณภาพชีวิตของบุคลากรสายสนับสนุนในมหาวิทยาลัยบูรพา จําแนกตามระดับการศึกษา สถานภาพการทํางาน การปรับเปลี่ยนสถานภาพ ตําแหน่งทางวิชาชีพ อาชีพเสริม จํานวนสมาชิกในครัวเรือนที่อยู่ในความดูแลที่พักอาศัย และประเภทสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาล กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรสาย สนับสนุนในมหาวิทยาลัยบูรพา จาก 4 หน่วยงาน คือ สํานักบริการวิชาการ สํานักคอมพิวเตอร์ สํานักหอสมุด และสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล จํานวน 200 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่ โดยวิธีการทดสอบ LSD ผลการวิจัยพบว่า คุณภาพชีวิตของบุคลากรสายสนับสนุนในมหาวิทยาลัยบูรพาในภาพรวมอยู่ในระดับกลาง ๆ พิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า บุคลากรสายสนับสนุนมีคุณภาพชีวิต ด้านสุขภาพกาย ด้านสุขภาพจิต ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม อยู่ในระดับกลาง ๆ ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า บุคลากรสายสนับสนุนในมหาวิทยาลัยบูรพาที่มีระดับการศึกษา สถานภาพการทํางาน การปรับเปลี่ยนสถานภาพจากข้าราชการมาเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย ตําแหน่งทางวิชาชีพ และประเภทของสวัสดิการด้านการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล ที่แตกต่างกัน จะมีคุณภาพชีวิตแตกต่างกัน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนบุคลากรสายสนับสนุนในมหาวิทยาลัยบูรพาที่มีอาชีพเสริม จํานวนสมาชิกในครัวเรือนที่อยู่ในความดูแล และที่พักอาศัยแตกต่างกันมีคุณภาพชีวิตการทํางานไม่แตกต่างกัน