Abstract:
Abstract: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เพื่อศึกษาและพัฒนารูปแบบระบบการจัดและให้บริการสุขภาพในระดับปฐมภูมิ ในชุมชนภาคตะวันออก มีกระบวนการศึกษา 5 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาสถานการณ์สุขภาพและความต้องการ การบริการสุขภาพของประชาชน 2) การให้บริการสุขภาพในระดับปฐมภูมิในปัจจุบัน 3) การสังเคราะห์รูปแบบการให้บริการสุขภาพในระดับปฐมภูมิ 4) การสะท้อนความคิดต่อรูปแบบที่ได้ 5) การพัฒนารูปแบบและระบบการจัดและให้บริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง เก็บรวบรวมข้อมูล โดยวิธีการสัมภาษณ์ การระดมสมอง โดยวิธีวิทยากรกระบวนการ การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การสนทนากลุ่ม การสะท้อนความคิดและการวิเคราะห์เอกสาร กลุ่มตัวอย่างและแหล่งข้อมูล ประกอบด้วย ครอบครัวประชาชนในภาคตะวันออก ซึ่งแบ่งเป็นเขตพื้นที่ชุมชนกึ่งเมือง ชุมชนประมง อุตสาหกรรมและเกษตรกรรม จำนวน 430 ครอบครัว รวม 1,583 คน ผู้ให้บริการในพื้นที่ดังกล่าว 17 คน สถานบริการสุขภาพทุกระดับในภาคตะวันออก 22 แห่ง ผู้ให้บริการ ผู้ผลิต ผู้ใช้บริการ ได้แก่ ประชาชน และผู้เกี่ยวข้องในชุมชนที่เลือกอย่างเจาะจง 47 คน เพื่อระดมสมองสังเคราะห์รูปแบบ ประชาชนจากชุมชน ทั้ง 4 เขตพื้นที่ 264 คน และผู้ทรงคุณวุฒิด้านสุขภาพ การศึกษา การเมือง และผู้นำชุมชน จำนวน 64 คน ที่ให้การสะท้อนความคิดต่อรูปแบบผลการวิจัยพบว่า ประชาชนยังมีพฤติกรรมสุขภาพไม่เหมาะสม ต้องการการพัฒนาความรู้ด้านสุขภาพ และการมีส่วนร่วมในการจัดการบริการสุขภาพ รูปแบบระบบการจัดและให้บริการสุขภาพระดับปฐมภูมิในชุมชนภาคตะวันออก ประกอบด้วยลักษณะบริการที่เป็นแบบ "ใกล้บ้าน ใกล้ใจ สัมผัสได้ทุกมิติ" โดยสถานบริการที่อาจจัดตั้งขึ้นหรือปรับสถานภาพจากสถานบริการที่มีอยู่เดิมในชุมชน ให้ชื่อเป็น "ศูนย์บริการสุขภาพชุมชน" มีคณะกรรมการบริหาร โดยการมีส่วนร่วมของจตุรมิตร ได้แก่ ทีมสุขภาพ ประชาชน องค์กรท้องถิ่นและองค์กรอิสระ มีกองทุนสุขภาพที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณจากรัฐ องค์กรท้องถิ่น ประชาชน จัดให้มีการบริหารจัดการที่ดี เน้นการมีส่วนร่วม มีการกำกับตรวจสอบ มีบริการที่ครอบคลุมทั้ง 4 มิติ คือ การรักษาพยาบาล การตรวจคัดกรองโรคเบื้องต้น การป้องกันโรค การส่งเสริมสุขภาพ และการฟื้นฟูสุขภาพ ให้บริการทุกกลุ่มทุกวัย ตั้งแต่เกิดถึงวาระสุดท้ายของชีวิต มีเครือข่ายบริการที่หลากหลาย มีคุณภาพ ประชาชนเลือกได้ เป็นบริการสุขภาพที่เน้น การเป็นศูนย์การเรี่ยนรู้ด้านสุขภาพในชุมชน ผู้ให้บริการเป็นทีมสุขภาพที่มีพยาบาลเป็นแกนหลัก และเป็นพยาบาลประจำครอบครัว
Abstract: The purpose of this action research was to develop the primary care service model for eastern region community, Thailand. The process of developing was following Step 1 To survey health status and health care service's needs of people from 4 diversity communities including sub-urban, fishery industrial and agricultural community. The questionnaires were administered from 1583 people and the semi-structured interview as well as in-depth interview method were carried out to gather data from 17 health care providers and community leaders.Step 2 To analyze the primary care service that provide at 22 health service including district health care center, community hospital metropolitan health center provincial and regional hospital.Step 3 To synthesize the primary care service model from view of health care providers , community leaders, clients and villagers.Step 4 To reflect the created primary care service model by villagers, health care, experts, nurse, educators, local politician and community leaders.Step 5 To establish the primary care service model for eastern region community.The results concluded that the people in eastern region were found non appropriate health behavior (30-50 percent) and need to be empowered in self caring. The characteristics of the primary care service model are.1. To should be closed to people's house and accessible2. Existing district health care center should be developed to be primary care center according to this model or set up a new one.3. Participatory management in one of key strategies in managing primary care center.Four parties should be considered to be committee. They are health care team, villagers, community organization and non government organization related to the community.4. Financial support should come from both government and local community.5. Primary care service should provided health care across lifespan with health promotion, prevention, cure and rehabilitation focusing on promoting health learning activities.6. Monitoring of primary care service and quality control should be continually practice and developed.7. Qualified alternative primary care service and health net working should be established for complementary and selected service.8. Professional nurse should be main provider at the primary care center and play role as a family nurse.