DSpace Repository

แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานราชการตำแหน่งพนักงานพิทักษ์ป่า สังกัดสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 2 (ศรีราชา)

Show simple item record

dc.contributor.advisor เทียนแก้ว เลี่ยมสุวรรณ
dc.contributor.author สายซอ ลิ้มกุล
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ
dc.date.accessioned 2023-05-12T02:42:19Z
dc.date.available 2023-05-12T02:42:19Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6291
dc.description งานนิพนธ์ (รป.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstract การศึกษาเรื่องแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานราชการ ตำแหน่งพนักงานพิทักษ์ป่า สังกัดสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 2 (ศรีราชา) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับของแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน และเพื่อเปรียบเทียบแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานราชการ ตำแหน่งพนักงานพิทักษ์ป่า สังกัดสำนักงานบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 2 (ศรีราชา) จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยเกี่ยวกับการทำงาน โดยเก็บข้อมูลจากประชากรทั้งหมด 209 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานการวิจัย โดยใช้การเปรียบเทียบ ค่าเฉลี่ย(Independent sample t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA และหาก พบว่า ค่า Levene’s test ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดใช้ค่า Brown-forsythe และค่า Welch วิเคราะห์ข้อมูลแทน และทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีการทดสอบ Dunnett T3โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการศึกษา พบว่า พนักงานพิทักษ์ป่ามีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยพนักงานพิทักษ์ป่ามีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานด้านปัจจัยการบำรุงรักษาสูงกว่า ปัจจัยการจูงใจเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ปัจจัยการจูงใจที่เป็นแรงจูงใจในการปฏิบัติงานสูงสุด คือความสำเร็จในงาน รองลงมาคือลักษณะของงานที่ปฏิบัติส่วนปัจจัยการบำรุงรักษา พบว่า สถานะของอาชีพเป็นแรงจูงใจในการปฏิบัติงานอันดับ สูงสุด รองลงมาคือความมั่นคงในงาน ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า พนักงานพิทักษ์ป่าที่มีอายุ ระดับการศึกษา ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน สถานภาพสมรส และที่อยู่ปัจจุบันต่างกัน มีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานไม่แตกต่างกัน ส่วนพนักงานพิทักษ์ป่าที่มีสถานที่ปฏิบัติงาน ประเภทของงานที่ปฏิบัติและจังหวัดที่ปฏิบัติงานต่างกัน มีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ข้อเสนอแนะจากการวิจัย คือ หน่วยงานระดับปฏิบัติควรกำหนดอัตราเงินเบี้ยเลี้ยงในการ ปฏิบัติงานให้กับพนักงานพิทักษ์ป่าตามความเหมาะสมกับปริมาณงาน และความเสี่ยงของงานนั้น ๆ เพื่อเป็นการเพิ่มแรงจูงใจในด้านเงินเดือน และจัดหาอุปกรณ์ที่ใช้ในการปฏิบัติงานให้เพียงพอ เพื่อเป็นการเพิ่มแรงจูงใจด้านสภาพการทำงาน
dc.language.iso th
dc.publisher วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject แรงจูงใจในการทำงาน
dc.subject พนักงานราชการ
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารทั่วไป
dc.title แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานราชการตำแหน่งพนักงานพิทักษ์ป่า สังกัดสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 2 (ศรีราชา)
dc.title.alternative Work motivtion of government employee, forest rnger of protected res, regionl office 2 (srirch)
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative he Work Motivation of Government Employees, Forest Rangers of Protected Areas, Regional Office 2 (Sriracha) aimed to study and compare the level of work motivation of government employedforest rangers of Protected Areas Regional Office 2, classified by personal factors and work factors. The information was collected from 209 employees, analyzed through descriptive statistics, frequency, percentage and standard deviation, using Independent Sample t-test and One-way ANOVA to test the research hypothesis. The study also used the Brown - Forsythe and Welch methods whenit was found that Levene’s test did not follow the rule, and different pairs were compared using Dunnett T3 determined with the statistical significance set at 0.05. The study found that in overview, forest rangers have a high level of work motivation. They have higher maintenance factors than motivation factors. The highest motivation factor is task achievement while the kind of work practices ranked second. On maintenance factors, the status of the profession is the highest motivation factor, job security was second. The result of the hypothesis revealedthat age, educational level, duration of employment, marital status and place of residencedid not have an affect on work motivation. However, operation location, kind of responsibility and province influenced it with a level of statistical signficance set at 0.05. The contribution of this study is that operational offices should determine proper allowance for the forest rangers,quantity of work and risk of work should be takeninto consideration. This will increase motivation through salary and providing adequate operation equipment will increase motivation for working conditions.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การบริหารทั่วไป
dc.degree.name รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account