Abstract:
การวิจัยเรื่อง ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงของบ้านหนองรีหมู่ที่ 7 ตำบลหนองรี อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยของความสำเร็จของการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงของบ้านหนองรีโดยได้ศึกษาข้อมูลจากเอกสารของสำนักงานพัฒนาชุมชน สร้างความสัมพันธ์กับชุมชน เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) จากผู้ให้ข้อสำคัญ ได้แก่ 1) ผู้นำชุมบ้านหนองรี จำนวน 3 คน คือ ผู้ใหญ่บ้านประธานอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้านและผู้นำสัมมาชีพชุมชน 2) เจ้าหน้าที่ของรัฐ จำนวน 3 คน คือ เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน อำเภอเมืองชลบุรีและเก็บข้อมูลจากการสนทนากลุ่ม (Focus group discussion) กับกลุ่มชาวบ้านที่เป็นครัวเรือนตัวอย่างในการดำเนินชีวติตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและบรรยายเชิงพรรณนา ในประเด็นปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความสำเเร็จ ซึ่งจากผลการศึกษา พบว่า ความสำเร็จของการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงบ้านหนองรีเกิดจาก 4 ปัจจัย ได้แก่ 1) ปัจจัยด้านผู้นำชุมชน ผู้นำบ้านหนองรีความรู้และทักษะความสามารถในด้านการเกษตร และสามารถเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ได้มีการทำงานด้วยบริหารงานที่ดีทำงานเป็นระบบในรูปแบบของการทำงานเป็นทีม และสามารถประสานงานการทำงานได้ดีสร้างความร่วมมือได้ 2) ปัจจัยด้านคนในชุมชน ชาวบ้านบ้านหนองรีมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนให้ความร่วมมือกับทุกกิจกรรมที่ภาครัฐและกลุ่มผู้นำชุมชนนำมา ปฏิบัติในหมู่บ้านและยัดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิตประจำวัน 3) ปัจจัยด้านภาคีเครือข่าย การพัฒนา โดยภาครัฐสนับสนุนการทำกิจกรรมและให้ความรู้ในหมู่บ้าน และเจ้าหน้าที่ของรัฐมีส่วนร่วมกับกิจกรรมและเป็นพี่เลี้ยงให้กับหมู่บ้าน โดยให้คำปรึกษาแนะนำและให้กำลังใจกับผู้นำ และชาวบ้าน 4) ปัจจัยด้านการมีแหล่งเรียนรู้มีแหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงและจุดให้ความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เป็นสถานที่ถ่ายทอดความรู้เฉพาะทางให้กับชาวบ้านและหมู่บ้านอื่น เป็นจุดสำหรับศึกษาดูงาน โดยมีข้อเสนอแนะ ดังนี้ 1) ให้มีการบทบาทและศักยภาพของผู้นำชุมชนให้มีความรู้และทักษะในด้านต่าง ๆ รวมถึงจัดรูปแบบการบริหารงานของผู้นำให้มีความเป็นระบบที่ชัดเจน 2) ให้มีการจัดทำแผนปฏิบัติการสืบค้นภูมิปัญญาท้องถิ่นในหมู่บ้านเพิ่มเติม และจัดองค์ความรู้ภูมิปัญญาพร้อมทั้งถอดบทเรียนนำภูมิปัญญามาปรับใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน และพัฒนาสู่แหล่งเรียนรู้ 3) ควรมีนโยบายการรักษาประสิทธิภาพของหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงให้มีความต่อเนื่องและเป็นหมู่บ้านที่ขับเคลื่อนกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอ