DSpace Repository

ผลของการประนอมข้อพิพาทในชั้นพนักงานอัยการ : กรณีศึกษา สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีในสังกัดภาค 2

Show simple item record

dc.contributor.advisor เทียนแก้ว เลี่ยมสุวรรณ
dc.contributor.author วนิชชา โพธิ์ทอง
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ
dc.date.accessioned 2023-05-12T02:42:16Z
dc.date.available 2023-05-12T02:42:16Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6276
dc.description งานนิพนธ์ (รป.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstract การศึกษาผลของการประนอมข้อพิพาทในชั้นพนักงานอัยการ: กรณีศึกษา สำนักงานอัยการคุ้มครอง สิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีในสังกัดภาค 2 มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาลักษณะของเรื่อง ที่เข้าสู่กระบวนการประนอมข้อพิพาทในชั้นพนักงานอัยการ (2) เพื่อศึกษาผลของการประนอมข้อพิพาท ในชั้นพนักงานอัยการ และ (3) เพื่อเปรียบเทียบผลของการประนอมข้อพิพาท จำแนกตามลักษณะของเรื่องที่เข้าสู่ กระบวนการประนอมข้อพิพาทในชั้นพนักงานอัยการ โดยใช้วิธีการวิจัยเอกสาร ซึ่งเป็นข้อมูลจากเอกสารสารบบ ประนีประนอมข้อพิพาทคดีแพ่งและอาญาของสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมาย และการบังคับคดีภายในหน่วยงานสังกัดภาคที่ 2 ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2559 พบว่า มีจำนวนทั้งสิ้น 106 เรื่อง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบบันทึกข้อมูลสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา พบว่า พื้นที่ที่มีเรื่องเข้าสู่กระบวนการประนอมข้อพิพาทมากที่สุด คือ จังหวัดระยอง ประเภทคดีที่เข้าสู่กระบวนการเกือบทั้งหมดเป็นคดีแพ่ง โดยคู่กรณีส่วนใหญ่เป็นบุคคล ลักษณะของข้อพิพาท ที่เข้าสู่กระบวนการเป็นข้อพิพาทเรื่องหนี้มากที่สุด ส่วนใหญ่มีสาเหตุจากข้อขัดแย้งทางด้านผลประโยชน์ ซึ่งเกือบทั้งหมดพนักงานอัยการเป็นผู้ทำหน้าที่ประนอมข้อพิพาท สำหรับผลการประนอมข้อพิพาท ในภาพรวม พบว่า ร้อยละ 44.34 ของเรื่องที่เข้าสู่กระบวนการประนอมข้อพิพาทสามารถไกล่เกลี่ยสำเร็จ และร้อยละ 36.79 ยุติการไกล่เกลี่ย ส่วนเรื่องที่ไกล่เกลี่ยไม่สำเร็จ คิดเป็นร้อยละ 18.87 สำหรับระยะเวลาของกระบวนการประนอม ข้อพิพาทโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 16 วัน โดยเรื่องที่สามารถไกล่เกลี่ยสำเร็จใช้ระยะเวลาในการประนอมข้อพิพาทเฉลี่ย 15 วัน เรื่องที่ไกล่เกลี่ยไม่สำเร็จใช้ระยะเวลาในการประนอมข้อพิพาทเฉลี่ย 14 วัน และเรื่องที่ต้องยุติการไกล่เกลี่ย มีระยะเวลาในการประนอมข้อพิพาทเฉลี่ย 18 วัน
dc.language.iso th
dc.publisher วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ -- ประนีประนอม
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน
dc.subject ความขัดแย้งระหว่างบุคคล
dc.title ผลของการประนอมข้อพิพาทในชั้นพนักงานอัยการ : กรณีศึกษา สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีในสังกัดภาค 2
dc.title.alternative Results of dispute concilition of the public prosecutors: cse study of office of civil rights protection, legl id nd legl execution in region 2
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The purpose of this study was threefold. First, it aimed at examining the types of dispute that were sent to a conciliation process by public prosecutors. Also, this study intended to investigate the results of dispute conciliation of public prosecutors. The third purpose of this study was to compare the results of dispute conciliation as classified by the types of dispute. A technique of documentary analysis was used to collect the data. The analyzed document included 106 disputes from both civil and criminal cases processed at the Office of Civil Rights Protection, Legal Aid, and Legal Execution Region 2 from the months of July-December 2016. The instrument of this study was a record form. The statistical tests used to analyze the collected data included frequency, percentage, means, and standard deviation. The results of this study revealed that Rayong Province was an area where there were the highest frequencies of disputes requested for conciliation. Almost of the dispute cases were civil suits in which the conflicting parties were two individuals. The majority of the disputes resulted from interest conflicts. In most cases, the conciliation was conducted by public prosecutors. In addition, the results showed that 44.34% of the disputes were successfully resolved and compromised. 36.76% of the cases ceased the conciliation. 18.87% of the cases were unsuccessful. Regarding the length of conciliation, it usually took 16 days.Specifically, while it took 15 days for conciliation of the successful cases, it usually took 14 days for the unsuccessful ones. For the cases in which the conciliation was ceased, it took 18 days for the process of conciliation.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การจัดการภาครัฐและภาคเอกชน
dc.degree.name รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account