dc.contributor.advisor | ณรงค์ อึ้งกิมบ้วน | |
dc.contributor.author | ณัฐพล กระจ่าง | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2023-05-12T02:37:29Z | |
dc.date.available | 2023-05-12T02:37:29Z | |
dc.date.issued | 2560 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6241 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)-- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 | |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อศึกษาจลนพลศาสตร์การอบแห้งและปัจจัยของสภาวะที่มีผลต่อการอบแห้งขมิ้นชัน เพื่อหาแบบจำลองการอบแห้งชั้นบางที่เหมาะสมและค่าสัมประสิทธิ์การแพร่ความชื้นประสิทธิผลศึกษาค่าความสิ้นเปลืองพลังงานจำเพาะที่ใช้ในการอบแห้งและสีของขมิ้นชัน ภายหลังการอบแห้ง โดยทำการทดลองอบแห้งภายใต้สภาวะการอบแห้งที่แตกต่างกัน 4 เงื่อนไข ได้แก่ การอบแห้งลมร้อน การอบแห้งด้วยรังสีอินฟราเรดโดยไม่ควบคุมอุณหภูมิอากาศอบแห้งและควบคุมอุณหภูมิอากาศอบแห้งและการอบแห้งด้วยลมร้อนร่วมกับรังสีอินฟราเรด โดยที่ในทุกการทดลองที่อบแห้งด้วยรังสีอินฟราเรดจะใช้กำลังอินฟราเรดเท่ากับ 600 800 และ 1,000 W อุณหภูมิอากาศอบแห้งเท่ากับ 40 50 และ 600 C สำหรับกรณีที่ใช้ลมร้อนจะใช้ความเร็วของอากาศเท่ากับ 0.5 m/sโดยที่ความชื้นเริ่มต้นของขมิ้นชันอยู่ในช่วง 420-640 %(d.b.) และอบแห้งจนเหลือความชื้นสุดท้ายอยู่ในช่วง 5-10 %(d.b.) ผลการศึกษาจลนพลศาสตร์การอบแห้งของขมิ้นชัน พบว่า อัตราการอบแห้งขึ้นอย่กับอุณหภูมิและกำลังของอินฟราเรด โดยที่การอบแห้งที่อุณหภูมิและกำลังของอินฟราเรดสูงขึ้นส่งผล ทำให้อัตราการอบแห้งมีค่าเพิ่มขึ้น นอกจากนี้การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์การแพร่ความชื้น ประสิทธิผล พบว่า ค่าสัมประสิทธิ์การแพร่ความชื้นประสิทธิผลขึ้นอยู่กับอุณหภูมิสำหรับการอบแห้งขมิ้นชันด้วยลมร้อน และอัตราส่วนของน้ำหนักของตัวอย่างต่อกำลังของอินฟราเรดสำหรับการอบแห้งขมิ้นชันด้วยรังสีอินฟราเรดตามรูปแบบสมการของ Arrheniusโดยที่ค่าสัมประสิทธิ์การแพร่ความชื้นประสิทธิผลมีค่าสูงขึ้นเมื่อเพิ่มอุณหภูมิและกำลังของอินฟราเรด ผลการวิเคราะห์แบบจำลองการอบแห้งชั้นบางขมิ้นชัน สรุปได้ว่า แบบจำลองของ Two Term สามารถทำนายผลจลนพลศาสตร์การอบแห้งของขมิ้นชันด้วยลมร้อนได้ดีที่สุด ในส่วนของการอบแห้งด้วยรังสีอินฟราเรดและการอบแห้งด้วยลมร้อนร่วมกับรังสีอินฟราเรด พบว่า แบบจำลองของ Midilli et al. สามารถใช้อธิบายผลการทดลองได้เป็นอย่างดี ในส่วนของการวิเคราะห์ค่าความสิ้นเปลืองพลังงานจำเพาะที่ใช้ในการอบแห้งขมิ้นชัน พบว่า ค่าความสิ้นเปลืองพลังงานจำเพาะมีค่าลดลงเมื่อเพิ่มกำลังอินฟราเรด แต่มีค่าเพิ่มขึ้นเมื่อเพิ่มอุณหภูมิลมร้อนขณะที่การอบแห้งด้วยรังสีอินฟราเรดมีค่าความสิ้นเปลืองพลังงานจำเพาะต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับสภาวะการอบแห้งอื่น ๆ สำหรับการวิเคราะห์ค่าสีของขมิ้นชันภายหลังการอบแห้ง พบว่า สภาวะการอบแห้งด้วยลมร้อนและลมร้อนร่วมกับรังสีอินฟราเรดให้ค่าความสว่าง (L*) ค่าความเป็นสีเหลือง (b*) และค่าความเป็นสีแดง (a*) ใกล้เคียงกันและไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p > 0.05) สำหรับการอบแห้งด้วยรังสีอินฟราเรดการเพิ่มอุณหภูมิอบแห้งทำให้ค่าความสว่าง (L*)และค่าความเป็นสีแดง (a*) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในขณะที่ค่าความเป็นสีเหลือง (b*) มีค่าไม่แตกต่างกันอย่างไรก็ดีสภาวะการอบแห้งขมิ้นชันด้วยลมร้อนและลมร้อนร่วมกับรังสีอินฟราเรดมีค่าการ เปลี่ยนแปลงของสีโดยรวม (ΔE) น้อยกว่าสภาวะการอบแห้งด้วยรังสีอินฟราเรด | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาฟิสิกส์ | |
dc.subject | ขมิ้นชัน -- การอบแห้ง | |
dc.title | การอบแห้งขมิ้นชันด้วยเครื่องอบแห้งด้วยลมร้อนร่วมกับรังสีอินฟราเรด | |
dc.title.alternative | Turmeric drying using combined hot ir nd infrred rdition | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | The objectives of this research were to study the drying kinetics and effectof drying conditions onturmeric drying to findout the suitable thin layer model and effective moisture diffusivity of turmeric dryingand to study the specific energy consumption and colorof dried turmeric samples.Four differentdryingconditions were carried out usinghot airdrying, infrared drying with and without air temperature control and combined hot air and infrared drying. The drying conditions were conducted oninfrared powers of 600,800 and 1,000 W, with drying air temperatures of 40, 50 and 60 0 C, and hot airvelocity of 0.5 m/s. The initial moisture contents of turmeric werebetween 420 and 640 %(d.b.). After drying the final moisture contents of driedturmeric werebetween 5and 10 %(d.b.). The experimental results showed that the drying rate dependedonthedryingair temperature andthe infrared radiation power. The experiment was found that the increasing of infrared power and temperature caused the increasingof drying rate. Moreover, the effective moisture diffusivity dependedon drying temperature for hot air drying and ratio of sample weight to infrared power for infrared drying. They were showed inthe Arrhenius equation. The statistical analysis was simulated using empirical drying model. The results showed that Two Term model hada good description on drying of turmeric using hot air drying. For infrared drying andcombined hot air and infrared drying, additionally, the simulated values using Midilli et al. model hada gooddescription to the experimental drying. For the analysis of specific energy consumption, the results showed that specific energy consumption decreased with increaseof infrared power, but increased with increase ofhot air temperature while the infrared drying hadlower specific energy consumption thantheother drying conditions. For the quality analysis of dried turmeric the experiment results showed that the lightness (L*), yellowness (b*) and redness (a*) of dried turmeric with hot air and combined hot air and infrared dryingconditionshad no significant (p >0.05), Additionally, the experiment was found that the increasing of temperature made the lightness (L*) andredness (a*) higher, while, the yellowness (b*) hada similar values for infrared drying. However, the total color difference (ΔE) of turmeric drying usinghot air andcombined hot air and infrared were less than infrared drying conditions. | |
dc.degree.level | ปริญญาโท | |
dc.degree.discipline | ฟิสิกส์ | |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา |