Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับของขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานและเปรียบเทียบขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของพนักงานจำแนกตาม เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา ตำแหน่งงาน ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน และหน่วยงานที่สังกัด ธนาคารสิน เขตชลบุรี 3 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ พนักงานธนาคารออมสินเขตชลบุรี 3 จำนวน 104 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบประมาณค่า 4 ระดับ ประกอบด้วย 1) ด้านความมั่นคงปลอดภัย 2) ด้านโอกาสก้าวหน้าในการทำงาน 3) ด้านสถานที่ทำงานและการจัดการ 4) ด้านค่าจ้างหรือรายได้ 5) ด้านลักษณะของงานที่ทำ 6) ด้านการนิเทศงาน 7) ด้านลักษณะทางสังคม 8) ด้านการสื่อสาร 9) ด้านสภาพการทำงาน และ 10) ด้านผลประโยชน์ตอบแทน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย (u) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดทอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA)
ผลการวิจัยพบว่า ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารออมสินเขตชลบุรี 3 โดยรวมอยู่ในระดับค่อนข้างดี เรียงตามอันดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ ด้านการสื่อสาร ด้านลักษณะทางสังคม และด้านการนิเทศงาน ตามลำดับ ผลการเปรียบเทียบขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารออมสิน เขตชลบุรี 3 พบว่า พนักงานที่มีเพศ สถานภาพบุคคล ระดับการศึกษา ตำแหน่งงาน และระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ต่างกันมีขวัญและกำลังใจไม่แตกต่างกัน แต่พบว่าพนักงานที่มี อายุ และหน่วยงานที่สังกัดต่างกัน มีขวัญและกำลังใจแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05