DSpace Repository

การศึกษาพฤกษเคมีและฤทธิ์ทางชีวภาพจากส่วนเหนือดินของจิงจูฉ่าย

Show simple item record

dc.contributor.advisor จเร จรัสจรูญพงศ์
dc.contributor.advisor อนันต์ อธิพรชัย
dc.contributor.author พิริยะภรณ์ อภิชาตยานนท์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T02:34:27Z
dc.date.available 2023-05-12T02:34:27Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6166
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)-- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstract งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสารพฤกษเคมีเบื้องต้น ปริมาณสารประกอบ ฟีนอลิกรวม สารประกอบฟลาโวนอยด์รวม และทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดหยาบจากส่วนเหนือดินของจิงจูฉ่าย ที่สกัดด้วยตัวทำละลายเฮกเซน ไดคลอโรมีเทน เอทิลอะซิเตทและ เมทานอล จากการศึกษาพบสารพฤกษเคมี ได้แก่ ฟลาโวนอยด์ คาร์ดิแอกไกลโคไซด์ แทนนิน คูมาริน สเตอร์รอยด์ เทอร์พีนอยด์ และซาโปนิน การหาปริมาณสารประกอบฟีนอลิกรวมและสารประกอบฟลาโวนอยด์รวม ด้วยวิธี Folin-Ciocalteu และ Aluminium trichloride (AlCl3) colorimetric ตามลำดับ พบว่า สารสกัดหยาบเอทิลอะซิเตทมีปริมาณมากที่สุดโดยมีค่าเท่ากับ 2.54±0.02 mgGAE/ g และ 83.29±3.12 mgQE/ g ตามลำดับ การศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH assay พบว่า สารสกัดหยาบเมทานอลมีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระสูงสุดที่ความเข้มข้น 10 mg/ mL เท่ากับ 86.54±0.01% และจากการศึกษาฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ไทโรซิเนสของส่วนสกัดหยาบจากส่วนเหนือดินของจิงจูฉ่ายด้วยตัวทำละลายชนิดต่าง ๆ โดยใช้ L-DOPA เป็นซับสเตรตพบว่า ที่ความเข้มข้น 10.00 mg/ mL สารสกัดหยาบด้วยเมทานอลมีฤทธิ์ในการยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสได้ดีที่สุด ( 9.53±4.01%) นอกจากนี้ผลการทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพการยับยั้งแบคทีเรียแกรมบวก Staphylococcus aureus และ แบคทีเรียแกรมลบ Escherichia coli ด้วยวิธี Agar disc diffusion ของสารสกัดหยาบจากส่วนเหนือดินของจิงจูฉ่ายไม่มีผลในการยับยั้งทั้งแบคทีเรีย Staphylococcus aureus และ Escherichia coli
dc.language.iso th
dc.publisher คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาเคมีศึกษา
dc.subject เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)
dc.subject อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ
dc.subject จิงจูฉ่าย -- การปลูก
dc.title การศึกษาพฤกษเคมีและฤทธิ์ทางชีวภาพจากส่วนเหนือดินของจิงจูฉ่าย
dc.title.alternative Phytochemicl nd biologicl ctivitiesfrom the eril prts of rtemisi lctiflor
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The aims of this research are evaluation of the phytochemical screening, total phenolic content, flavonoid content and biological activities of hexane, dichloromethane, ethyl acetate together with methanol extracts from the aerial parts of Artemisia lactiflora. The results showed that six groups of phytochemicals were observed including flavonoids, cardiac glycosides, tannins, coumarins, steroids, terpenoids and saponins. Total phenolic and flavonoid contents of all extracts of A.lactiflora were evaluated by Folin-Ciocalteu method using gallic acid as chemical standard and aluminium trichloride (AlCl3) colorimetric method using Qurecetin as chemical standard, respectively. The results indicated that the ethyl acetate extract contained total phenolic and flavonoid content with the highest values of 2.54±0.02 mgGAE/ g and 83.29±3.12 mgQE/ g, respectively. The highest antioxidant activity at 10 mg/ mL using DPPH free radical scavenging method was observed in A. lactiflora methanol extract (86.54±0.01%). moreover, anti-tyrosinase activity using L-DOPA substrates and kojic acid as standard was also studied. It was found that the methanol extract showed the highest antityrosinase activities at 10.00 mg/ mL using L-DOPA (9.53±4.01%). The crude extracts were also examined the antibacterial activity against the growth of gram-positive bacteria, Staphylococcus aureus, and gram-negative bacteria, Escherichia coli, by Agar disc diffusion method. The results showed that all crude extracts had no inhibitory effect on the growth of both Staphylococcus aureus and Escherichia coli.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline เคมีศึกษา
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account