dc.contributor.advisor |
ชัยศักดิ์ อิสโร |
|
dc.contributor.author |
เสาวลักษณ์ อินแพง |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2023-05-12T02:25:48Z |
|
dc.date.available |
2023-05-12T02:25:48Z |
|
dc.date.issued |
2560 |
|
dc.identifier.uri |
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6125 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)-- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 |
|
dc.description.abstract |
การเตรียมเซนเซอร์แก๊สไฮโดรเจนด้วยการกระจายตัวของอนุภาคนาโนแพลเลเดียมบน แผ่นแกรฟีนได้ถูกศึกษาในงานวิจัยนี้ ภายใต้การสังเคราะห์แกรฟีนบนแผ่นฟอยด์ทองแดงด้วยวิธีตกเคลือบไอระเหยทางเคมีโดยใช้แก๊สอะเซทีลีนเป็นแหล่งกำเนิดคาร์บอน เงื่อนไขของเวลาและอุณหภูมิที่ใช้ในการสังเคราะห์แกรฟีนอยู่ในช่วง 5-10 นาที และ 850-880 องศาเซลเซียส ตามลำดับ แกรฟีนบนแผ่นทองแดงถูกนำไปวิเคราะห์ด้วยเครื่องรามานสเปกโตรมิเตอร์ผลที่ได้จากสเปกตรัมของรามานพบว่าแกรฟีนที่เตรียมได้เป็นแกรฟีนหลายชั้น ยืนยันได้จากอัตราส่วนของพีค I 2D/IG มี ค่าน้อยกว่าหนึ่ง สำหรับในส่วนของการเตรียมอนุภาคนาโนแพลเลเดียมถูกสังเคราะห์ด้วยวิธีโพลิออลภายใต้การควบคุมขนาดของอนุภาคนาโนแพลเลเดียมด้วยการเปลี่ยนแปลงปริมาณสารตั้งต้นแพลเลเดียมคลอไรด์ในช่วง 0.06-0.6 กรัม โดยอนุภาคนาโนแพลเลเดียมถูกนำไปอธิบายลักษณะด้วยเทคนิคอิเล็กตรอนแบบส่องผ่าน (Transmission electron microscopy, TEM) ผลการศึกษาพบว่า ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของอนุภาคนาโนแพลเลเดียมเพิ่มขึ้น เมื่อปริมาณสารตั้งต้นแพลเลเดียมคลอไรด์เพิ่มขึ้นและขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของอนุภาคนาโนแพลเลเดียมอยู่ในช่วง 7.7-12.0 นาโนเมตร หลังจากนั้นทำการเคลือบสารละลายแพลเลเดียมลงบนแผ่นแกรฟีนด้วยเครื่องปั่นเคลือบ และควบคุมความหนาแน่นของอนุภาคนาโนแพลเลเดียมบนแผ่นแกรฟีนด้วยการเปลี่ยนแปลงปริมาตรสารละลายแพลเลเดียมในช่วง 50-250 ไมโครลิตรอนุภาคนาโนแพลเลเดียมที่เคลือบบนแผ่นแกรฟีนถูกนำไปวิเคราะห์เพื่อศึกษาลักษณะของอนุภาคบนแผ่นแกรฟีนด้วยเทคนิคอิเล็กตรอนแบบส่องกราด (Scanning electron microscopy, SEM) ผลที่ได้พบว่า ความหนาแน่น ของอนุภาคนาโนแพลเลเดียมบนแผ่นแกรฟีนเพิ่มขึ้นเมื่อปริมาตรของสารละลายแพลเลเดียมที่เคลือบบนแผ่นแกรฟีนเพิ่มขึ้น สำหรับการวัดแก๊สไฮโดรเจนบนพื้นฐานของการศึกษาการวัดความต้านทานไฟฟ้าของอนุภาคนาโนแพลเลเดียมบนแผ่นแกรฟีน แสดงการเปลี่ยนแปลงของความต้านทานไฟฟ้าเกิดจากการตอบสนองต่อแก๊สไฮโดรเจน ซึ่งจากผลการทดลองปรากฏเปอร์เซ็นต์การตอบสนองต่อแก๊สไฮโดรเจนมีค่าเพิ่มขึ้นและมีค่าสูงสุดอยู่ที่ 3.90% ของเซนเซอร์แก๊ส ไฮโดรเจนที่เคลือบสารละลายแพลเลเดียม 200 ไมโครลิตร บนแผ่นแกรฟีน นอกจากนี้สามารถืนยันได้ว่าการเตรียมอนุภาคนาโนแพลเลเดียมบนแผ่นแกรฟีนหลายชั้นสามารถนำไปใช้ในการตรวจวัดแก๊สไฮโดรเจนและสามารถนำไปใช้เป็นเซนเซอร์แก๊สไฮโดรเจนในเบื้องต้นได้ |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.rights |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.subject |
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาฟิสิกส์ |
|
dc.subject |
แก๊สไฮโดรเจน |
|
dc.title |
การสร้างเซนเซอร์แก๊สไฮโดรเจนด้วยการกระจายตัวของอนุภาคนาโนแพลเลเดียมบนแผ่นแกรฟีน |
|
dc.title.alternative |
Fbriction of hydrogen gs sensor bsed on plldium nnoprticles dispersed on grphene sheet |
|
dc.type |
วิทยานิพนธ์/ Thesis |
|
dc.description.abstractalternative |
Hydrogen gas sensor based on palladium nanoparticles dispersed on graphene sheet was studied in this research. Graphene was synthesized on copper foils by CVD method using acetylene as a carbon source. Conditions of growth time and growth temperature of graphene were in the range of 5-10 min and 850-880 0 C, respectively. The graphene structure on copper was analyzed by Raman spectrometer. The result of Raman spectrum show that the prepared graphene has multilayers, observation from the peak ratio of I2D/IG < 1. For palladium nanoparticles in this experiment was synthesized by polyol method which controlled palladium nanoparticle sizes from changing amount of palladium chloride precursors in the range of 0.06-0.60 g. The palladium nanoparticles were characterized by Transmission electron microscopy (TEM). The results show that the diameter size of palladium nanoparticles increased in the range of 7.7-12.0 nm with increasing amount of palladium chloride precursors. Hydrogen gas sensor was obtained by using palladium solution coating on graphene sheets by spin-coater. The controlled density of palladium nanoparticles on graphene sheets by changing volume of palladium solution were in the range of 50-250 µl. After palladium nanoparticles coating on graphene sheet was observed by Scanning electron microscopy (SEM). The results show that the density of palladium nanoparticles on graphene sheet increased, when volume of palladium solution were coated on graphene sheet increasing. For the measurement of hydrogen gas, based on electrical resistance measurement study of the palladium nanoparticles on the graphene sheets indicates that the change in electrical resistance respond to hydrogen gas. The results present that the percentage responds on hydrogen gas gradually increases and reaches the maximum value of 3.90% for the sensor with 200 µl of palladium solution coating on graphene sheet. In addition, it confirmed that palladium nanoparticles on the multilayers graphene sheet can be applied in hydrogen gas detection and used to hydrogen gas sensor in a primary. |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
ฟิสิกส์ |
|
dc.degree.name |
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.grantor |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|