Abstract:
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบกําลังการทดสอบและอิทธิพลร่วมของตัวแปรแฝง ในการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างแบบไม่เป็นเส้นตรง ระหว่างวิธี LISREL-PI วิธี LMS และวิธี PLS-PI ตัวแปรขนาดกลุ่มตัวอย่าง มี 6 ขนาด (20, 50, 100, 150, 200 และ 500 คน) และจํานวนตัวบ่งชี้ในแต่ละตัวแปรแฝง มี 6 ขนาด (2, 4, 6, 8, 10 และ 12 ตัว) เป็นการศึกษาสถานการณ์จําลองด้วยวิธีมอนติคาร์โล ทดลองซ้ำ 500 ครั้งสำหรับแต่ละกลุ่มตัวอย่าง วิเคราะห์โดยใช้วิธีLISREL-PI และวิธี LMS นําผลมาเปรียบเทียบกับวิธี PLS-PI จากการศึกษาของ Chin, Marcolin, and Newsted (2003) และ Goodhue, Lewis, and Thompson (2007) และเพื่อศึกษาผลการวิเคราะห์อิทธิพลร่วมของความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความผาสุกทางจิตใจต่อผลการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยมีบรรยากาศในการเรียนเป็นตัวแปรกํากับ โดยใช้วิธี LISREL-PI วิธี LMS และวิธี PLS-PI กับข้อมูลจริง ใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีของวิทยาลัยเซนต์หลุยส์ ปีการศึกษา 2558 จํานวน 500 คน ผลการศึกษาปรากฎว่า 1. กําลังการทดสอบในการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างแบบไม่เป็นเส้นตรงที่มีค่ามากกว่า 0.80 เรียงลําดับตามวิธีดังนี้ วิธี LISREL-PI (33 เงื่อนไข) วิธีLMS (13 เงื่อนไข) และวิธีPLS-PI (9 เงื่อนไข) และทุกขนาดของจํานวนตัวบ่งชี้ในแต่ละตัวแปรแฝง (2, 4, 6, 8, 10 และ 12 ตัว) ทั้ง 3 วิธีให้ค่ากําลังการทดสอบมากกว่า 0.80 กรณีกลุ่มตัวอย่างขนาด 500 คน และค่าอิทธิพลรวมของตัวแปรแฝงในการวิเคราะห์โมเดล สมการโครงสร้างแบบไม่เป็นเส้นตรงที่มีความลําเอียงสัมพัทธ์เฉลี่ยน้อยกว่า 10% เรียงลําดับตามวิธีดังนี้ วิธีLMS (30 เงื่อนไข) วิธี PLS-PI (18 เงื่อนไข) และวิธี LISREL-PI (6 เงื่อนไข) แสดงว่า วิธี LMS ใช้ได้ดีกรณี ตัวบ่งชี้ในแต่ละตัวแปรแฝงมีจํานวนมาก (8, 10 และ 12 ตัว) และทุกขนาดกลุ่มตัวอย่าง วิธี PLS-PI ใช้ได้ดี กรณีตัวบ่งชี้ในแต่ละตัวแปรแฝง มีจํานวนมาก (6, 8, 10 และ 12 ตัว) และกลุ่มตัวอย่างขนาด 20, 50, 100, 150 และ 200 คน และวิธี LISREL-PI ใช้ได้ดีกรณีตัวบ่งชี้ในแต่ละตัวแปรแฝงมี 2 ตัว และกลุ่มตัวอย่างขนาด 100, 150, 200 และ 500 คน 2. ค่าอิทธิพลร่วมของความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความผาสุกทางจิตใจต่อผลการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยมีบรรยากาศในการเรียนเป็นตัวแปรกํากับวิธี LISREL-PI มีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และวิธี PLS-PI มีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สำหรับวิธี LMS ค่าอิทธิพลรวมของความผาสุกทางจิตใจกับบรรยากาศในการเรียนไม่ส่งผลต่อผลการเรียนรู้ของนักศึกษาแสดงว่า วิธี LISREL-PI และวิธี PLS-PI ใช้ได้ดีกับการวิเคราะห์ อิทธิพลร่วมของความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความผาสุกทางจิตใจต่อผลการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยมีบรรยากาศในการเรียนเป็นตัวแปรกํากับ