dc.contributor.author |
ธนิตย์ อินทรัตน์ |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2019-03-25T08:52:01Z |
|
dc.date.available |
2019-03-25T08:52:01Z |
|
dc.date.issued |
2552 |
|
dc.identifier.uri |
http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/605 |
|
dc.description.abstract |
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำแผนที่แสดงแนวชายฝั่งทะเลโบราณบริเวณจังหวัดชลบุรี โดยทำการวิเคราะห์ จากหลักฐานที่ปรากฏอยู่ในพื้นที่ศึกษา ประกอบด้วยลักษณะสัณฐานที่แสดงถึงความเป็นชายฝั่งทะเลโบราณ ได้จากการแปลภาพถ่ายดาวเทียมและภาพถ่ายทางอากาศด้วยสายตา และข้อมูลจากกรมทรัพยากรธรณี ลักษณะปรากฏของชั้นหินในพื้นที่ และข้อมูลจากข้อมูลวิทยาหินจากกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ลักษณะธรณีสัณฐานชายฝั่ง ได้จากโครงข่ายโยงยึดสามเหลื่ยม ลักษณะขุดดิน ได้จากกรมพัฒนาที่ดิน และภูมินาม และหลักฐานทางโบราณคดี ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เป็นเครื่องมือในการศึกษาแนวชายฝั่งโบราณ ในพื้นที่บริเวณตอนเหนือของจังหวัด ได้รับอิทธิพลจากแม่น้ำบางประกง ทำให้พื้นที่บริเวณนี้ มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่ม ตะกอนที่พบ เป็นตะกอนดินเหนียวจากแม่น้ำ สลับตะกอนจากทะเล ทำให้มีลักษณะแตกต่างจากพื้นที่ทางตอนใต้ของจังหวัดพบตะกอนจากทะเลทับถมกับตะกอนจากเศษหินเชิงเขา และตะกอนที่เกิดจากการผุสลายของหินฐานในพื้นที่ ซึ่งเป็นหินแกรนิตที่เกิดขึ้นมาในยุคคาร์บอนิเฟอรัสผลที่ได้รับจากการศึกษา แสดงให้ทราบว่า ระดับน้ำทะเลในสมัยโฮโลซีน เคยขึ้นบริเวณอำเภอเกาะจันทร์ และอำเภอบ่อทอง ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของจังหวัดชลบุรี ห่างจากแนวชายฝั่งทะเลปัจจุบัน เป็นระยะทางประมาณ 40 กิโลเมตร พื้นที่บริเวณนี้เป็นที่ราบน้ำทะเลขึ้นถึงในอดีตและยังมีหลักฐานทางโบราณคดีแสดงถึงชุมชนชายทะเลยุคก่อนประวัติศาสตร์ อยู่ที่อำเภอบ้านโคกพนมดี อำเภอพนัสนิคม ในขณะที่ทางตอนใต้ของจังหวัดชลบุรี น้ำทะเลได้รุกล้ำเข้ามาเป็นระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร เนื่องจากพื้นที่บริเวณนี้ ถูกควบคุมด้วยลักษณะของหินฐานในพื้นที่และไม่ได้รับอิทธิพลจากแม่น้ำ |
th |
dc.description.sponsorship |
งานวิจัยได้รับทุนอุดหนุนจากงบประมาณเงินรายได้ ประจำปีงบประมาณ 2551คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
en |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.publisher |
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
th_TH |
dc.subject |
การเปลี่ยนแปลงชายฝั่ง - - ไทย - - ชลบุรี |
th_TH |
dc.subject |
ชายฝั่ง - - ไทย - - ชลบุรี |
th_TH |
dc.subject |
ธรณีวิทยา - - ไทย - - ชลบุรี |
th_TH |
dc.subject |
นิเวศวิทยาชายฝั่ง - - ไทย - - ชลบุรี |
th_TH |
dc.subject |
ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ |
th_TH |
dc.title |
การหาแนวชายฝั่งทะเลโบราณบริเวณจังหวัดชลบุรี |
th_TH |
dc.title.alternative |
An investigation of palaeo coastal line in Chon Buri province. |
en |
dc.type |
Research |
|
dc.year |
2552 |
|
dc.description.abstractalternative |
The objective of this study is to produce paleo coasltal line map of Chon Buri Province using evidences that existed in the study area and Geographic Information System as analyzing data and tool, respectively. Evidences included paleo coastal line morphologic features obtained by visual interpretation of color aerial photograph and satellite imagery included lithofacies extracted from lithology data, coastal profile extracted from Triangulated lrregular Network (TIN), soil series and lasty, information from villages name and archaeology in Chon Buri Province. The paleo coastal line in the northern part of Chon Buri Povince is influenced with alluvial from Bang Pa Kong river cause an intertidal flat around this area. The alluvium deposit interfingering with the marine sediment. Differ from the southern part of Chon Buri Province, this area is influenced wint weathered local base rock (Carboniferous granite batholith) cause the marine sediment deposit interfingering with high and low terrace deposit. The analytical result show that the Holocene sea level has reached the area of Kor Chan District and Bor Thang District those situated in the northern part of Chon Buri Province, about 40 Kilometers far from the present coastal line. Moreover, there is an archaeological evidence provide the prehistoric coastal settlement called Lob Panom Dee in Panatnikhom District. While the southern part of Chon Buri Province, sea level has reached the area about 10 Kilometers far from the present coastal line because this area is controlled by local base rock and non influence with riverine process. |
en |