Abstract:
งานวิจัยนี้มุ่งพัฒนาคอนกรีตที่คงทนสำหรับโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กที่เผชิญกับการทำลายของคลอไรด์ โดยศึกษาการแทรกซึมคลอไรด์ของมอร์ต้าร์ที่แทนที่บางส่วนของวัสดุประสานด้วยเถ้าลอย ผงหินปูนและสารขยายตัว ที่อัตราส่วนต่าง ๆกัน โดยใช้อัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสาน 0.40 และ 0.50 ทำการทดสอบ Bulk diffusion test, Rapid chloride penetration test (RCPT), Sapid migration test (RMT) และ Waterabsorption test เมื่อมอร์ต้ามีอายุได้ 28 วัน จากผลการทดสอบพบว่า มอร์ต้าที่อัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสาน 0.40 มีค่าความต้านทานคลอไรด์มากกว่ามอร์ต้าร์ที่อัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสาน 0.50 ส่วนมอร์ต้าที่ใช้ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1 เป็นวัสดุประสานหลักมีค่าความต้านทานคลอไรด์ที่ใกล้เคียงกับมอร์ต้าที่ใช้ปูนซีเมนต์ปอร์ต์แลนด์ประเภทที่ 5 เป็นวัสดุประสานหลักขณะที่มอร์ต้าร์ที่ผสมสารขยายตัวมีค่าความต้านทานคลอไรด์ที่ดีขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับมอร์ต้าซีเมนต์ล้วน และมอร์ต้าที่ผสมผงหินปูนมีค่าความต้านทานคลอไรด์ที่ลดลง ส่วนมอร์ต้าที่ผสมของเถ้าลอยและผงหินปูนที่บางอัตราส่วนผสมและมอร์ต้าที่ผสมเถ้าลอยและสารขยายตัวมีค่าความต้านทานคลอไรด์ที่ดี นอกจากนี้ยังพบว่า ผลการทดสอบด้วยวิธี Bulk diffusion test, RCPT และ RMT มีแนวโน้มผลการทดสอบไปในทิศทางเดียวกัน