DSpace Repository

การอ่านคันจิประสม

Show simple item record

dc.contributor.author นฤมล ลี้ปิยะชาติ
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T08:51:58Z
dc.date.available 2019-03-25T08:51:58Z
dc.date.issued 2553
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/576
dc.description.abstract การวิจัยเรื่องการอ่านคันจิประสม มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะศึกษารูปแบบการอ่านคันจิประสมว่ามีการอ่านได้กี่แบบ ในรูปแบบการอ่านที่พบทั้งหมดมีสัดส่วนรูปแบบการอ่านของคำประสมคันจิในภาพรวมอย่างไร ศึกษาการอ่านแต่ละแบบว่ามีลักษณะเงื่อนไขทางการออกเสียงในทางภาษาศาสตร์หรือไม่ และหากมีจะสามารถทำนายการเกิดของเสียงได้หรือไม่ ผลการวิจัยพบว่า การอ่านอักษรคันจิมีการอ่านออกเสียงได้ 4 รูปแบบ คือการอ่านด้วยเสียงอน เสียงคุน เสียงประสมระหว่างเสียงอนกับเสียงคุน และเสียงประสมระหว่างเสียงคุนกับเสียงอน การอ่านคันจิประสมส่วนใหญ่มักจะใช้การอ่านด้วยเสียงอนเป็นหลักเพราะพบว่ามีจำนวนมากถึง 97.4% ในขณะที่มีการอ่านด้วยเสียงอน การอ่านแบบที่ใช้เสียงคุนก็มีจำนวนถึง 46.7% เท่ากับเกือบครึ่งหนึ่งของจำนวนทั้งหมด การอ่านด้วยเสียงประสมระหว่างเสียงอน และเสียงคุนซึ่งถึงแม้จะมีจำนวนไม่มากนัก แต่ก็มีจำนวนถึง 11.2% - 12.0% เป็นการอ่านที่มีจำนวนไล่เลี่ยกันไม่ต่างกันมากนัก การพิจารณาโดยใช้ตัวอักษรแต่ละตัวเป็นหลัก พบว่าอักษรบางตัวอ่านได้ทั้ง 4 แบบ บางตัวอน่าได้ 3 แบบ บางตัวอ่านได้ 2 แบบ ในขณะที่บางตัวจะอ่านได้แบบเดียว จำนวนตัวอักษรที่มีรูปแบบการอ่านแบบที่ 1 o+o มีมากที่สุดคือ 47.4% อันดับ 2 คือ รูปแบบ 12 o+o และ k+k มี 31.3% อันดับ 3 คือ รูปแบบ 124 o+o k+k และ k+o มี 5.9% ไม่พบตัวอักษรที่มีเฉพาะรูปแบบ 34 o+k และ k+o ในการวิเคราะห์เสียงเพื่อจะหาเหตุผลมาอธิบายการเกิดของเสียงในคันจิประสมนั้น พบว่า สามารถหาคู่เทียบเสียงที่เกิดในสภาพแวดล้อมที่เหมือนกันหรือคล้ายคลึงกันได้ หมายความว่าการอ่านด้วยเสียงเช่นใดแบบใดเป็นลักษณะการเกิดที่เป็นอิสระไม่สามารถทำนาย หรือให้เหตุผล หรือให้เหตุผลได้ว่าจะออกเสียงใดเมื่อไร This research was aimed firstly to examine how many reading patterns of kanji compounds exist; secondly, to numerate the quantity and proportion of each reading pattern found; thirdly, to examine if linguistic pronunciation principle appeared; lastly, to see if linguistic pronunciation principle could be employed for sound pronunciation anticipation when reading kanji compounds. It was found that there were four reading patterns of kanji compounds: "on", "kun", "on" and "kun" combined, and "kun" and "on" combined. Among these four patterns, "on" was the most frequent pronunciation pattern for reading kanji compounds rated 97.4% followed by "kun" rated 46.7% which was almost half of the entire amount. Although the pronunciations of "on" and "kun" combined and "kun" and "on" combined were not frequent, they were rated 11.2%-12.0% which were not significantly different. Considering pronunciation pattern of kanji alphabets, it was found that some alphabets could be pronounced entirely four sounds, some could be three, some could be two and other could be pronounced only one sound. The alphabets with 1 st reading pattern o+o, was the greatest quantity rated 47.4% followed by the 12th reading pattern, o+o and k+k, rated 31.3%. The third frequent pronunciation fell into 124th pattern, o+o k+k and k+o, rate 5.9%. There was no kanji alphabet which could only be pronounced as 34th pattern, o+k and k+o. When scrutinizing the articulated sounds of kanji compounds, it was found that, in similar environment, minimal pairs of kanji compounds pronunciation could be juxtaposed meaning that the articulation of kanji compounds was arbitrary, not anticipative. th_TH
dc.description.sponsorship งานวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนจากงบประมาณเงินรายได้ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ พ.ศ. 2552 มหาวิทยาลัยบูรพา en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject ภาษาญี่ปุ่น - - การออกเสียง th_TH
dc.subject ภาษาญี่ปุ่น - - การอ่าน th_TH
dc.subject ภาษาญี่ปุ่น - - ตัวอักษร th_TH
dc.subject สาขาปรัชญา th_TH
dc.title การอ่านคันจิประสม th_TH
dc.title.alternative The reading of Kanji compound words th_TH
dc.type Research th_TH
dc.year 2553


Files in this item

Files Size Format View

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account