dc.contributor.advisor | พรรัตน์ แสดงหาญ | |
dc.contributor.advisor | ศรัญยา แสงลิ้มสุวรรณ | |
dc.contributor.author | ธนษา ธนเดชะวัฒน์ | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะการจัดการและการท่องเที่ยว | |
dc.date.accessioned | 2023-05-03T07:46:30Z | |
dc.date.available | 2023-05-03T07:46:30Z | |
dc.date.issued | 2564 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/5435 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (บธ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2564. | |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจการใช้งานการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านแพลตฟอร์มของผู้ปฏิบัติงาน 2) วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของแบบจำลองความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการยอมรับเทคโนโลยีการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของผู้ปฏิบัติงาน 3) พัฒนาแบบจำลองความสัมพันธ์เชิงสาเหตุในการยอมรับเทคโนโลยีการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของผู้ปฏิบัติงานในอุตสาหกรรมการผลิต จังหวัดชลบุรี 4) ตรวจสอบ ความสอดคล้องของแบบจำลองความสัมพันธ์เชิงสาเหตุในการยอมรับเทคโนโลยีการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของผู้ปฏิบัติงานในอุตสาหกรรมการผลิต จังหวัดชลบุรี ที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ปฏิบัติงานในอุตสาหกรรมการผลิต จังหวัดชลบุรี ที่ใช้การประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในการทำงาน จำนวน 371 คน โดยใช้สถิติในการวิจัย ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และแบบจำลองความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ ซึ่งผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ใช้แพลตฟอร์ม Microsoft teams 2) องค์ประกอบเชิงยืนยันของตัวแปรแฝงภายในและตัวแปรภายนอกของแบบจำลองความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ ที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 3) แบบจำลองความสัมพันธ์เชิงสาเหตุในการยอมรับเทคโนโลยีการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของผู้ปฏิบัติงานในอุตสาหกรรมการผลิต จังหวัดชลบุรี ที่พัฒนาขึ้นมี ความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 4) ตัวแปรสาเหตุที่มีอิทธิพลรวมสูงสุดต่อตัวแปรพฤติกรรมการใช้งานจริง ได้แก่ ความตั้งใจในการแสดงพฤติกรรม รองลงมาคือ การรับรู้ถึงความง่าย การรับรู้ถึงประโยชน์ ทัศนคติต่อการใช้งาน และปัจจัยภายนอก ตามลำดับ ซึ่งตัวแปรเชิงสาเหตุในแบบจำลองสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมการใช้งานจริง ได้ร้อยละ 31.7 | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | คณะการจัดการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | การประชุมทางไกลผ่านจอภาพ | |
dc.title | การยอมรับเทคโนโลยีการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของผู้ปฏิบัติงานในอุตสาหกรรมการผลิต จังหวัดชลบุรี | |
dc.title.alternative | Acceptance of electronic conferencing technology among employees in the manufacturing industry, chonburi province | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | This research aimed to 1) survey electronic conferencing through the platform among employees, 2) analyze the confirmatory factors of the causal relationship model for acceptance of electronic conferencing technology among employees, and 3) develop a causal relationship model for acceptance of electronic conferencing technology among employees in the manufacturing industry, Chonburi Province, and 4) examine goodness of fit between the developed causal relationship model for acceptance of electronic conferencing technology among employees in the manufacturing industry, Chonburi Province, and the empirical data based on a quantitative research. The samples included 371 employees in the manufacturing industry, Chonburi Province. The statistics used were frequency, percentage, mean, standard deviation, confirmatory factor analysis, and the causal relationship model. The findings revealed that 1) most respondents used the platform called Microsoft teams. 2) Goodness of fit was found from the confirmatory factors of endogenous and exogenous variables of the developed causal relationship model. 3) Goodness of fit was found from the developed causal relationship model for acceptance of electronic conferencing technology among employees in the manufacturing industry, Chonburi Province. And 4) the cause variables with highest effects on real usage behavior included behavioral intention, followed by perceived ease of use, perceived benefits, attitudes, and external factors, respectively. The causal factors in the model could describe the variation of real usage behavior at 31.7%. | |
dc.degree.level | ปริญญาโท | |
dc.degree.discipline | คณะการจัดการและการท่องเที่ยว | |
dc.degree.name | บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา |