DSpace Repository

พฤติกรรมการดูแลสุขภาพและการรับรู้คุณค่าตราสินค้าที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อชานมไข่มุกเพื่อสุขภาพของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร

Show simple item record

dc.contributor.advisor ศรัญยา แสงลิ้มสุวรรณ
dc.contributor.advisor ธนภณ นิธิเชาวกุล
dc.contributor.author ปัทมาวรรณ ลิ้มพลอยพิพัฒน์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะการจัดการและการท่องเที่ยว
dc.date.accessioned 2023-05-03T07:41:17Z
dc.date.available 2023-05-03T07:41:17Z
dc.date.issued 2564
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/5416
dc.description งานนิพนธ์ (บธ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2564.
dc.description.abstract การศึกษาเรื่อง พฤติกรรมการดูแลสุขภาพ และการรับรู้คุณค่าตราสินค้า ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อชานมไข่มุกเพื่อสุขภาพของผู้บริโภค ในเขตกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ ระดับการรับรู้คุณค่าตราสินค้าของผู้บริโภคชานมไข่มุกเพื่อสุขภาพ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ และการรับรู้คุณค่าตราสินค้า กับพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อชานมไข่มุกเพื่อสุขภาพของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร และ เพื่อสร้างสมการทำนายพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อชานมไข่มุกเพื่อสุขภาพของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามออนไลน์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริโภคที่รู้จักและเคยดื่มชานมไข่มุกเพื่อสุขภาพในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน โดย วิธีการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมานเพื่อทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์ และการวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงพหุ  ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นในพฤติกรรมการดูแลสุขภาพในภาพรวมในระดับปานกลาง และเมื่อแยกในรายด้าน พบว่า  กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นในระดับมาก คือ การตรวจสุขภาพ การพักผ่อน ระดับปานกลาง คือ การบริโภคอาหาร และการออกกำลังกาย ส่วนการรับรู้คุณค่าตราสินค้ากลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้คุณค่าตราสินค้าในด้านคุณภาพที่ถูกรับรู้  การตระหนักรู้ในตราสินค้า และความภักดีในตราสินค้า ในระดับมาก ส่วนการรับรู้คุณค่าตราสินค้า ด้านการเชื่อมโยงตราสินค้า มีการรับรู้ในระดับปานกลาง ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า พฤติกรรมการดูแลสุขภาพ ด้านการออกกำลังกายและการตรวจสุขภาพมีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อชานมไข่มุกเพื่อสุขภาพของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และการรับรู้คุณค่าในตราสินค้าด้านการตระหนักรู้ในตราสินค้า ด้านคุณภาพที่ถูกรับรู้ ด้านความภักดีในตราสินค้า และ ด้านการเชื่อมโยงตราสินค้า มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อชานมไข่มุกเพื่อสุขภาพของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพและการรับรู้คุณค่าในตราสินค้าสามารถพยากรณ์พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อชานมไข่มุกเพื่อสุขภาพของผู้บริโภค ในเขตกรุงเทพมหานครได้ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05
dc.language.iso th
dc.publisher คณะการจัดการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject พฤติกรรมผู้บริโภค
dc.subject เครื่องดื่ม --การตลาด
dc.subject พฤติกรรมสุขภาพ
dc.title พฤติกรรมการดูแลสุขภาพและการรับรู้คุณค่าตราสินค้าที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อชานมไข่มุกเพื่อสุขภาพของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร
dc.title.alternative Health care behavior and perceived brand equity affecting the consumers purchase decision behaviors of healthy bubble milk tea in bangkok
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The objectives of this study were: (1) to study the health management level and the perceived brand equity level of healthy bubble milk tea’s consumers (2) to study the relationship between health care behavior factors and the perception of brand equity with factors affecting consumers’ buying decision behavior of healthy bubble milk tea in Bangkok; and (3) to create a predicted equation of consumer’s buying decision behavior of healthy bubble milk tea in Bangkok. The population is the consumer living in Bangkok.  It was a quantitative research. The research instrument was online questionnaire. The samples of this study were 400 consumers who knew or drank healthy bubble milk tea and lived in Bangkok. The samples were selected by purposive sampling technique. Data were analyzed using descriptive statistics, and using Pearson’s product moment correlation and multiple regression analysis to test the research hypothesis. The research results indicated that the samples had the opinions about overall health care behavior in a moderate level. Considering in each aspect of health care behavior, the study revealed that the samples’ opinions about the health checking and about the rest were in a high level, and about the food consumption and the exercise were in a moderate level. Regarding the perceived brand equity, the results were showed that the samples had the high perceptions of perceived quality, brand awareness, and brand loyalty, and had the moderate perception level of brand association. The result of the hypothesis testing showed that the exercise, and the health checking had a  correlation with the buying decision behavior of healthy milk tea among consumers in Bangkok at the 0.01 significance level. Besides, the perceived brand equity in terms of brand awareness, perceived quality, brand loyalty, and brand association also had a correlation with buying decision behavior of the healthy milk tea among consumers in Bangkok at the 0.01 significance level. Besides, health care behavior and perceived brand equity were able to predict the consumer’s buying decision behavior of healthy milk tea in Bangkok at the 0.05 significance level
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline คณะการจัดการและการท่องเที่ยว
dc.degree.name บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account