Abstract:
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาระดับพัฒนาการเด็กก่อนวัยเรียน ลักษณะการอบรมเลี้ยงดูและปัจจัยที่มีผลต่อระดับพัฒนาการของเด็กวัยก่อนเรียน ที่มีอายุระหว่าง 3-5 ปี ที่ศูนย์พัฒนาการเด็กเล็ก จังหวัดชลบุรี ระหว่างวันที่ 10 พฤษภาคม – 1 มิถุนายน 2538 จำนวน 133 คน และผู้ปกครองจำนวน 133 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบทดสอบพัฒนาการ DDST (Denver Developmental Screening Test) และแบบสอบถาม ทำการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้วิธีหาค่า ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (T-Test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และหาค่าประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ เด็กก่อนวัยเรียนที่มารดามีปฏิสัมพันธ์กับบุตรต่างกัน มีการอบรมเลี้ยงดูต่างกัน มีคะแนนพัฒนาการโดยรวมต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 เด็กก่อนวัยเรียนที่คลอดต่างกันมีคะแนนพัฒนาการด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ในการเคลื่อนไหวต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 และเด็กก่อนวัยเรียนที่มารดาอายุต่างกัน รายได้ครอบครัวต่างกัน มีคะแนนพัฒนาการด้านภาษาและการได้ยิน ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ปัจจัยที่ไม่พบความสัมพันธ์กับพัฒนาการเด็กโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ได้แก่ เพศของเด็ก ลำดับที่การเกิด ภาวะสุขภาพ การศึกษาของบิดา สถานภาพสมรส สถานภาพการทำงาน จำนวนบุตร ลักษณะครอบครัวและรายได้ครอบครัว