DSpace Repository

สัมพันธภาพในครอบครัวกับปัญหายาเสพติดและพฤติกรรมทางเพศ ของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา

Show simple item record

dc.contributor.author พัชนี สุวรรณศรี
dc.contributor.author ถิรพงษ์ ถิรมนัส
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T08:51:55Z
dc.date.available 2019-03-25T08:51:55Z
dc.date.issued 2540
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/532
dc.description.abstract การศึกษานี้อาศัยรูปแบบการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบตัดขวางเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสัมพันธภาพในครอบครัวกับพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับสารเสพติด และพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องทางเพศ เก็บรวบรวมข้อมูลจากนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพา ที่ลงทะเบียนเรียนในภาคการศึกษาปลาย ปีการศึกษา 2538 สุ่มตัวอย่างจำนวน 379 คน (ร้อยละ 10 ของนิสิตทั้งหมด) โดยการคัดเลือกตัวอย่างแบบสองขั้นตอน ขั้นตอนแรกแบ่งประชากรออกตามกลุ่มคณะและชั้นปีการศึกษา ขั้นตอนที่สองเลือกตังอย่างแต่ละคนโดยความสมัครใจ โดยให้ตอบแบบสอบถามด้วยตนเอง ในช่วงระหว่างเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ 2539 ผลการศึกษาพบว่าตัวอย่างมีระดับสัมพันธภาพในครอบครัวโดยรวมอยู่ในระดับปานกลางและระดับสูงร้อยละ 36.9 และ 29.0 ตามลำดับ มีระดับพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับสารเสพติดโดยรวมอยู่ในระดับปานกลางและระดับสูง ร้อยละ 37.4 และ 36.1 ตามลำดับ มีระดับพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องทางเพศในด้านความคิดเห็นต่อลักษณะพฤติกรรมทางเพศอยุ่ในระดับปานกลางและระดับสูงร้อยละ 33.2 และ 37.3 ตามลำดับ ในด้านทัศนคติต่อโรคเอดส์และการป้องกันโรคเอดส์จากเพศสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลางและระดับสูงร้อยละ 39.9 และ 27.0 ตามลำดับ ตัวอย่างมีระดับความรู้เกี่ยวกับการติดต่อของโรคเอดส์อยู่ในระดับปานกลางและระดับสูงร้อยละ 44.3 และ 31.6 ตามลำดับ การศึกษานี้พบความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างสัมพันธภาพในครอบครัว กับพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับสารเสพติดโดยรวม ทั้งการรับรู้ความเสี่ยงของการใช้สารเสพติด การรับรู้ความรุนแรงของการใช้สารเสพติด และการรับรู้ประโยชน์ของการหลีกเลี่ยงการใช้สารเสพติด กับความคิดเห็นต่อพฤติกรรมทางเพศ กับความรู้เกี่ยวกับการติดต่อของโรคเอดส์ นอกจากนี้ยังพบว่าลักษณะทางประชากรสังคมที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับสารเสพติดโดยรวม ได้แก่ คณะ ชั้นปีการศึกษา เพศ ระดับการศึกษาของมารดา และลักษณะการทำกิจกรรมของนิสิต ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางประชากรสังคมใด ๆ กับทัศนคติต่อโรคเอดส์และการป้องกันโรคเอดส์จากเพศสัมพันธ์ พบแต่เพียง เพศ มีสัมพันธ์กับความคิดเห็นต่อลักษณะพฤติกรรมทางเพศเท่านั้น การศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าควรมุ่งเน้นส่งเสริมสัมพันธฺภาพของบุคคลในครอบครัวให้มากขึ้น เพื่อช่วยให้นิสิตมีพฤติกรรมในการป้องกันตนเองที่เหมาะสมต่อการป้องกันการติดเชื้อเอดส์ th
dc.description.sponsorship ได้รับทุนสนับสนุนการิจัยจากงบประมาณแผ่นดิน พ.ศ. 2539 en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject ความสัมพันธ์ในครอบครัว - - ไทย th_TH
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา - - นักศึกษา - - ความสัมพันธ์ในครอบครัว th_TH
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา - - นักศึกษา - - พฤติกรรมทางเพศ th_TH
dc.subject ยาเสพติดกับเยาวชน th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ th_TH
dc.title สัมพันธภาพในครอบครัวกับปัญหายาเสพติดและพฤติกรรมทางเพศ ของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.title.alternative The effect of family relations to druy addict problems and sexual behaviors among students among students in Burapha university en
dc.type Research
dc.year 2540
dc.description.abstractalternative This research is cross-sectional analytic study that determines the relationship between family relations and drug-related behaviors and sex-related behaviors. The samples were 379 undergraduate students in Burapha University which was selected by two stages random sampling. First stage was stratifying the students into groups by faculty and study year. Second stage was individual selection by proportion from each group by voluntary sampling. The data was collected by self-administered questionnaires between January and February, 1996 The analysis of data was number, percents and Chi-square test. This study found that 36.9% and 29.0% of students were middle and high family relations level respectively. 37.4% and 36.1% of students were middle and high drug-related behaviors level respectively 33.2% and 37.3% of students were middle and high sex-related behavior level specific in concerning about sex appearance respectively. 33.9% and 27.0% of students were middle and high sex-related behavior level specific in attitude yo AIDS and prevention respectively. 44.3% and 31.6% of students were middle and high knowledge about AIDS transmission respectively. We found the significant association between family relations and drug-related behaviors, concerning about sex appearance and knowledge about AIDS transmission. This study indicated that it should be supporting and promoting the relationship among family members for decreasing the risk of contract AIDS among those students. en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account