dc.contributor.author |
นันทพร บุตรบำรุง |
th |
dc.contributor.author |
ถิรพงษ์ ถิรมนัส |
th |
dc.contributor.author |
ศรีรัตน์ ล้อมพงศ์ |
th |
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2019-03-25T08:51:54Z |
|
dc.date.available |
2019-03-25T08:51:54Z |
|
dc.date.issued |
2544 |
|
dc.identifier.uri |
http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/527 |
|
dc.description.abstract |
การศึกษานี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงวิเคราะห์ภาคตัดขวาง (Cross-Sectional Analytic Study) เพื่อให้ทราบถึงพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มผสมคาเฟอีน โดยพิจารณาในด้านชนิด ปริมาณและความถี่ของการบริโภคและเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างการบริโภค, ปริมาณคาเฟอีนที่ได้รับ, ระดับคาเฟอีนในปัสสาวะกับประสิทธิภาพและความปลอดภัยของคนงาน โดยทำการเก็บข้อมูลในโรงงานหลอมโลหั 4 โรง ในช่วงเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม 2543 โดยการสัมภาษณ์คนงาน 299 คน และเก็บตัวอย่างปัสสาวะ จำนวน 89 คน มาทำการวิเคราะห์โดยใช้เครื่อง High Performance Liquid chromatography (HPLC) และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยใช้ Student t-test และวิเคราะห์หาความสัมพันธ์โดยใช้ Chi-square test
ผลการศึกษาพบว่า คนงานส่วนใหญ่ร้อยละ 80 เป็นเพศชาย อายุระหว่าง 20-39 ปี การศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาหรือต่ำกว่าร้อยละ 72 ลักษณะงานส่วนใหญ่ คือ งานธุรการ แม่บ้าน และงานทั่วไป ร้อยละ 40 รองลงมา คือ งานหล่อ หลอม และเจียร ประสบการณ์การทำงานเฉลี่ย 4.6 ปี คนงานส่วนมากร้อยละ 46 เคยเกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน คนงานร้อยละ 50 นิยมดื่มเครื่องดื่มชูกำลังยี่ห้อเอ็ม-150 และนิยมดื่มแบบไม่ผสมกับเครื่องดื่มชนิดอื่น เฉลี่ยดื่มมาเป็นเวลา 5.6 ปี ค่าใช้จ่ายกับการดื่มเฉลี่ย 150 บาท/เดือน คนงานร้อยละ 65 เคยดื่มชา, กาแฟ, โกโก้ และนิบมดื่มกาแฟผงสำเร็จรูป คนงานได้รับปริมาณคาเฟอีนโดยเฉลี่ย 70 มิลลิกรัม/วัน ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับจากชา, กาแฟ, โกโก้เฉลี่ย 46 มิลลิกรัมต่อวัน เฉพาะปริมาณคาเฟอีนที่ได้รับจากชา, กาแฟ, โกโก้ เท่านั้นที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงานที่แตกต่างกัน (p =0.01) ผู้ที่เคยได้รับอุบัติเหตุจากการทำงานดื่มชา, กาแฟ, โกโก้ เฉลี่ย 55 มิลลิกรัม/วัน ในขณะที่ระดับคาเฟอีนในปัสสาวะ มีความสัมพันธ์กับการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงานที่ไม่แตกต่างกัน (p = 0.777) ค่าเฉลี่ยของระดับคาเฟอีนในปัสสาวะเท่ากับ 1.6 มิลลิกรัม/ลิตร การดื่มเครื่องดื่มชูกำลัง และ ชา, กาแฟ, โกโก้ กับการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงานไม่มีความแตกต่างกัน (p = 0.067 และ 0.173 ตามลำดับ) แต่การดื่มน้ำอัดลมโคคา-โคล่า, เป๊ปซี่ กับการเดิดอุบัติเหตุจากการทำงานมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ p = 0.004 |
th |
dc.description.sponsorship |
โครงการวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากเงินงบประมาณแผ่นดิน หมวดเงินอุดหนุน ประจำปีงบประมาณ 2543 มหาวิทยาลัยบูรพา |
en |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.publisher |
คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
th_TH |
dc.subject |
ความปลอดภัยในงานอุตสาหกรรม |
th_TH |
dc.subject |
คาเฟอีน |
th_TH |
dc.subject |
พฤติกรรมผู้บริโภค - - ชลบุรี |
th_TH |
dc.subject |
เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน |
th_TH |
dc.subject |
อุตสาหกรรมหลอมโลหะ - - ชลบุรี |
th_TH |
dc.subject |
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ |
th_TH |
dc.title |
ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มผสมคาเฟอีนกับประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการทำงานของคนงานโรงงานหลอมโลหะในจังหวัดชลบุรี |
th_TH |
dc.title.alternative |
The relationship between caffeine consumption behaviors and working efficiency and safety among melting metal industrial workers in Chonburi province. |
en |
dc.type |
Research |
th_TH |
dc.year |
2544 |
|
dc.description.abstractalternative |
The 299 workers in 4 melting metal factories in Chonburi Province of Thailand were interviewed for cross-sectional analytic study association between quantity and frequency of caffeine behavioral consumption and working safety efficiency, during March-May, 2000. The 89 of 299 representative workers were urine sample collected to confirm caffeine taking checked by High Performance Liquid Chromatography (HPLC) method. Data were analyzed by Statistic Program for Social Science (SPSS) program. Difference analysis between 2 groups were determined by Student t-test and association analysis was performed by using Chi-square test.
The study revealed that most of the workers (80%) are male, age between 20-39 years old. Seventy-two percent of them finished secondary level of education and forty-six percent of them had been accidented experience during working. On an average, they have worked for 4.6 years. About 50 percent of workers drink M-150 for average 5.6 year long and on an average, they receive caffeine 70 mg/day. Sixty-five percent of subjects had consumed tea, coffee, cocoa and most of them drink coffee powders, with 46 mg of caffeine per day. The finding statistically significant associated with working accident (p = 0.01) with average caffeine intake 55 mg/day while urine caffeine determined average 1.6 mg/l was not statistically significant different with working accident (p = 0.777). Drinking of energy drinks and tea, coffee, cocoa among those workers mentioned above are not statistically significant associated with working accident (p = 0.067 and 0.173, respectively), but among those who consume soft drink such coca-cola, pepsi are statistically significant different with working accident (p = 0.004) |
en |
dc.description.abstractalternative |
|
|