DSpace Repository

ความต้องการพัฒนาศักยภาพการทำงานของผู้สูงอายุในจังหวัดชลบุรี

Show simple item record

dc.contributor.author สุเนตร สุวรรณละออง
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ th
dc.date.accessioned 2023-03-28T09:28:29Z
dc.date.available 2023-03-28T09:28:29Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/5135
dc.description.abstract การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัย 2 ประการคือ เพื่อศึกษาสถานการณ์การทำงานของผู้สูงอายุวัยต้นและวัยกลางในจังหวัดชลบุรี และ 2 เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความต้องการการพัฒนาศักยภาพการทำงานของผู้สูงอายุวัยต้นและวัยกลางในจังหวัดชลบุรี ใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 200 คน สุ่มตัวอย่างแบบใช้ความน่าจะเป็น แบบแบ่งชั้นแบบไม่เป็นสัดส่วน (Dispropertional Stratified Random Sampling) ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นที่เป็นสมาชิกกลุ่มผู้สูงอายุและไม่เป็นสมาชิกกลุ่มใด ๆ เลย เลือกแบบเจาะจง จำนวนทั้งสิ้น 16 คน ใช้การสัมภาษณ์เจาะลึกในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ 1. สถานการณ์ทำงานของผู้สูงอายุวัยต้นและวัยกลาง ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ ไม่ทำงาน ส่วนผู้สูงอายุที่ทำงานจะทำงานที่ไม่เกี่ยวข้องกับภาคเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ โดยกลุ่มผู้สูงอายุวัยต้น มีอาชีพอื่น ๆ มากกว่าวัยกลาง และเหตุผลในการทำงานเพราะต้องการมีรายได้เป็นสำคัญ โดยวัยต้นมีความต้องการมีรายได้มากกว่าวัยกลาง อย่างไรก็ตาม ผู้สูงอายุส่วนใหญ่รู้สึกไม่มีคววามสุขในการทำงาน โดยเฉพาะผู้สูงอายุวัยกลาง 2. เปรียบเทียบความต้องการพัฒนาศักยภาพการทำงานของผู้สูงอายุวัยต้นและวัยกลางในจังหวัดชลบุรี ภาพรวมพบว่าผู้สูงอายุวัยต้นและวัยกลางมีความต้องการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ทั้ง 4 ด้าน คือด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และความรู้ทักษะในการทำงาน โดยผู้สูงอายุวัยต้นต้องการพัฒนาศักยภาพการทำงานภาพรวมมากกว่าผู้สูงอายุวัยกลาง เมื่อเรียงลำดับความต้องการพัฒนาศักยภาพการทำงานของผู้สูงอายุวัยต้นและผู้สูงอายุวัยกลาง พบว่า ผู้สูงอายุวัยต้น มีความต้องการพัฒนาศักยภาพเรียงลำดับได้ดังนี้ 1. ด้านร่างกาย 2. ด้านจิตใจ 3. ด้านสังคม ด้านความรู้ทักษะในการทำงาน ส่วนผู้สูงอายุวัยกลางมีความต้องการพัฒนาศักยภาพ เรียงลำดับได้ดังนี้ 1. ด้านร่างกายและจิตใจ 2. ด้านสังคม 3. ด้านความรู้ทักษะในการทำงาน
dc.description.sponsorship ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจาก งบประมาณเงินรายได้ ปีพ.ศ. 2559 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject การทำงาน th_TH
dc.subject ผู้สูงอายุ th_TH
dc.subject การพัฒนาตนเอง th_TH
dc.title ความต้องการพัฒนาศักยภาพการทำงานของผู้สูงอายุในจังหวัดชลบุรี th_TH
dc.title.alternative The needs of the elderly's work efficiency development in Chonburi province th_TH
dc.type Research th_TH
dc.author.email ssuwanlaong@yahoo.com th_TH
dc.year 2560 th_TH
dc.description.abstractalternative This research aimed to study: 1. work situation of the Young Old and the Old-old in Chonburi , and 2. the comparison of needs for the development of work proficiency of the Yong-old and the Old-old in Chonburi. This research used qualitative and quantitative methodology. Regarding quantitative methodology, 200 samples were selected by disproportional stratified random sampling method. They were the elderly people aged between 60-79 years. Some belonged to an elderly club. while some did not belong to any. 16 of them were selected by purposive sampling method and in depth interviews were used with these people. The result was as follows: 1. Work situation of the Young Old and Old-old Most of the elderly was not working. Most of the elderly worked in the field that was not related to agriculture. There were more people from the Yong-old group working in various professions than those of people from the Ole-old group. The main reason for working was that they wanted incomes. The Young-old people were in need of incomes more than those of the Old-old people were. However, they were not happy at work especially the Old-old. 2. The comparison of needs for the development of work proficiency of the Yong-old and the Old-old The needs for the development of work proficiency of the Yong-old and the Ole-old revealed that the needs of the Young-old people and the Ole-ole people were difference at .05 statistically significant in 4 aspects: physical, mental, social, and working skills. The Yong-old people wanted to develop their holistic working skills more than the Ole-ole people did. The Young-old people's needs for the development were ordered as 1. physical development, 2. Mental development, 3. social development, and 4. working skill development. The Old-old people's needs for the development were ordered as 1. physical development and mental development, 2. social development, 3. working skill developments.


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account