DSpace Repository

วงศาวิทยาว่าด้วยธรรมชาติของมนุษย์และรัฐในปรัชญาการเมือง

Show simple item record

dc.contributor.author ญาเรศ อัครพัฒนานุกูล
dc.date.accessioned 2023-03-10T03:51:49Z
dc.date.available 2023-03-10T03:51:49Z
dc.date.issued 2565
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/5129
dc.description ทุนอุดหนุนการวิจัย งบประมาณเงินรายได้มหาวิทยาลัย เงินรายได้ส่วนงาน เงินกองทุนวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ th_TH
dc.description.abstract การศึกษาแนวคิดเรื่องธรรมชาติของมนุษย์และรัฐ ในมุมมองและฐานคิดเบื้องต้นทางปรัชญาการเมือง มีวัตถุประสงค์ในการสร้างองค์ความรู้เพื่อใช้ในการอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างธรรมชาติของมนุษย์ และการเกิดขึ้น/หน้าที่ของรัฐ ในทางปรัชญาการเมือง และเพิ่มความรู้ความเข้าใจที่เกี่ยวข้องกับรัฐ พลเมือง และอำนาจอธิปไตย รวมทั้งเพิ่มทางเลือกในการศึกษาปรัชญาการเมืองเพื่อใช้อธิบายแนวคิดทางการเมือง และการศึกษารัฐศาสตร์ ด้วยแนวทางประวัติศาสตร์ปรัชญา และวงศาวิทยา อันเป็นการสร้างมุมมองแบบใหม่ที่มีต่อความเข้าใจทฤษฏีการเมืองว่าด้วยรัฐ และการมีอยู่ของรัฐ โดยการใช้ระเบียบวิธีวิจัยในเชิงคุณภาพ แบบตีความเอกสารผ่านกรอบของการศึกษาในเชิงวงศาวิทยา ผลการศึกษาพบว่า ความคิดทางการเมืองในเรื่องของธรรมชาติมนุษย์ สัมพันธ์กับการเกิดขึ้นและมีอยู่ของรัฐ โดยเราสามารถวาดภาพเชิงมุมมองของวงศาวิทยาของธรรมชาติของมนุษย์และรัฐตามแนวทางในงานวิจัยครั้งนี้ได้ 4 มุมมอง ได้แก่ รัฐกับมุมมองแบบอำนาจสมบูรณ์สูงสุด รัฐกับมุมมองแบบมวลชน รัฐกับมุมมองแบบรัฐสมมติ และรัฐกับมุมมองแบบอำนาจรัฐธรรมนูญนิยมและอำนาจเชิงสถาปนา นอกจากนี้ งานวิจัยครั้งนี้ ยังเสนอวงศาวิทยาของรัฐในเชิงอุดมการณ์ 6 รูปแบบ ได้แก่ เสรีนิยม พหุนิยม อุดมการณ์ขวาใหม่ ทฤษฏีสัญญาประชาคม อุดมการณ์แบบรัฐนิยมและสาธารณรัฐนิยม และมาร์กซิสต์ การศึกษาในครั้งนี้ยังแสดงให้เห็นประเด็นที่มีความน่าสนใจ 3 ประการ ได้แก่ ประการแรก การศึกษาในครั้งนี้ นำไปสู่การขยายขอบเขตของรัฐจากนิยามเรื่องดินแดนหรืออาณาเขต ไปสู่มุมมองทางการเมืองในมิติอื่นๆ ประการที่สอง มุมมองต่างๆ เรื่องรัฐในเชิงวงศาวิทยา เผยให้เห็นถึงขอบเขตของรัฐศาสตร์และการศึกษาทางการเมืองที่กว้างขวางและซับซ้อนขึ้น โดยเฉพาะจากบริบทของสังคมการเมืองสมัยใหม่ ที่ซึ่งรัฐถูกนำมาเชื่อมโยงเกี่ยวพันกับประเด็นต่างๆ ในโลกการเมืองสมัยใหม่ ทั้งตัวแสดงที่ไม่ใช่รัฐที่อยู่ภายในรัฐ อย่างเช่น พลเมือง และภายนอกรัฐ อย่างเช่นองค์การระหว่างประเทศ ประการที่สาม การมองรัฐในเชิงกว้างอย่างแนวทางวงศาวิทยา นำมาสู่การตั้งคำถามถึงอำนาจและขอบเขต รวมทั้งการจัดวางรัฐสมัยใหม่ในบริบทของโลกสมัยใหม่ เช่น ประเด็นเรื่องสิทธิมนุษยชนของคนไร้รัฐ และการท้าทายจากอำนาจที่อยู่เหนือกว่ารัฐอย่างสหภาพยุโรป ในท้ายที่สุดแล้ว การศึกษาในครั้งนี้นำมาสู่การเปิดพื้นที่ในทางวิชาการขององค์ความรู้เรื่องรัฐ ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยพื้นฐาน จากงานวิชาการที่มีอยู่เดิม รวมถึงการขยายขอบเขตในการอธิบายหลักการพื้นฐานของรัฐ ในแง่มุมเชิงวิชาการและบริบทเชิงปรัชญาที่กว้างขึ้น อันเป็นพื้นฐานให้กับองค์ความรู้ทางรัฐศาสตร์ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของสังคมไทยและสังคมโลก th_TH
dc.description.sponsorship เงินกองทุนวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject การเมือง - - ปรัชญา th_TH
dc.title วงศาวิทยาว่าด้วยธรรมชาติของมนุษย์และรัฐในปรัชญาการเมือง th_TH
dc.title.alternative A genealogy of human nature and the state in political philosophy th_TH
dc.type Research th_TH
dc.author.email yared.ak@buu.ac.th th_TH
dc.year 2565 th_TH
dc.description.abstractalternative The study of the concept of human nature and the state in political philosophy focuses on the understanding of the relationship between human nature and the origins/duties of the state in terms of political philosophy, including the understanding of state, citizen and sovereignty. It also gives an alternative to the study of state and its right of existence with new perspectives on political philosophy, ideas and studies by shedding light on historical philosophy and genealogical approaches. The research deals with interpretative analysis on documentary research, by focusing on the genealogical approach in its qualitative methodology. The result of the study reveals that the political thoughts on human nature is related to that of the state origins and existence. The genealogical concepts of human nature and the state in this study can divide into 4 perspectives, namely the absolutist view of the state, the populist view of the state, the fictional view of the state and the view of constitutionalism and constituent power. In addition, the research also presents 6 ideologies of the state; that is to say, liberalism, pluralism, neo-right ideology, social contract theory, statism and republicanism and Marxist. Moreover, the study results in three significant points. Firstly, the study shows a broader view of the concept of state apart from the definition of territory and boundary. Secondly, the genealogical perspectives on the concept of state reveal a wider area and complex scopes of political science and political studies, especially on the context of modern political society where the state is bound to various issues of non-state actors in the modern political world, both within, e.g., citizens, and outside states, e.g., international organisations. Thirdly, the study of the genealogy of the state inquires into state power, scope and how to place a modern state in the modern context, e.g., the human rights of stateless people, and the challenges of the state regarding the power beyond states, e.g., the European Union. To this, the study provides a better understanding of the concept of the state in accordance with basic research and in broader academic and philosophical contexts. It finally gives a contribution to a basis knowledge of political science in supporting political reforms in Thai and global societies. en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account