DSpace Repository

การศึกษาปัญหาเพื่อสร้างรูปแบบพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในภาคตะวันออก

Show simple item record

dc.contributor.author อาภรณ์ รัตนวิจิตร
dc.contributor.author วัลภา คุณทรงเกียรติ
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T08:51:53Z
dc.date.available 2019-03-25T08:51:53Z
dc.date.issued 2542
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/511
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาจากปัจจัยต่างๆ และหาตัวทำนายคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในภาคนะวันออก กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในที่รับไว้รักษาซ้ำในโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไปในภาคตะวันออก จำนวน 390 คน เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม 2541 ถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2541 โดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีค่าความเชื่อมั่นในส่วนการพึ่งพาสังคม .82 และส่วนคุณภาพชีวิต .86 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการคำนวณ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในภาคตะวันออกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้แก่ การพึ่งพาสังคม (r=.347) การพักอาศัยในบ้านของตนเอง (r=.192) อาชีพรับราชการ/ รัฐวิสาหกิจ (r=.167) รายได้เฉลี่ยต่อเดือนของครอบครัวหลังเจ็บป่วย (r=.148) ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือนของครอบครัว (r=.147) สถานภาพสมรส (r=.144) รายได้เฉลี่ยต่อเดือนของครอบครัวหลังเจ็บป่วย (r=.135) และพบว่าปัญหาที่เกิดจากโรค เช่นการพูดไม่ชัด มองเห็นภาพซ้อน ฯ มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r=.102) 2. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางลบกับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในภาคตะวันออกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้แก่ อาชีพรับจ้าง (r=.174) การพักอาศัยอยู่กับผู้อื่น (r=.169) สถานภาพสมรส/ หม้าย/ หน่า แยก (r=.137) การพักอาศัยอยู่บ้านเช่า (r=.132) และพบว่าการใช้อุปกรณ์ช่วยขณะเคลื่อนไหวมีความสัมพันธ์ทางลบกับคุณภาพชีวิตอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 (r=.112) 3. ตัวทำนายคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในภาคตะวันออก ได้แก่ การพึ่งพา สังคม อาชีพรับจ้าง การพักอาศัยในบ้านของตนเองและค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือนของครอบครัว โดยสามารถเขียนสมการทำนายในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐาน ด้งนี้ Y = 33.707+(.460) (การพึ่งพาสังคม) + (.-3.368) (อาชีพรับจ้างป + (3.276) (การพักอาศัยในบ้านของตนเอง) + (.000006) (ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือนของครอบครัว) Z= 9.375) (การพึ่งพาสังคม)+ (-.163) (อาชีพรับจ้าง) + (.161) (การพักอาสัยในบ้านของตนเอง) + (.144) (ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือนของครอบครัว) ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้ที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะรัฐบาลและทีมสุขภาพควรตระหนักถึงการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดรคหลอดเลือดสมองโดยการส่งเสริมการพึ่งพาตนเอง การส่งเสริมให้พักอาศัยในบ้านของตนเอง ส่งเสริมให้มีอาชีพที่มีรายได้ที่แน่นอน มีค่าใช้จ่ายเพียงพอและมีสวัสดิการสังคม th_TH
dc.description.sponsorship งานวิจัยนี้ได้รับสนับสนุนงบประมาณวิจัยจากงบประมาณแผ่นดินปี 2541 en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject คุณภาพชีวิต th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ th_TH
dc.subject โรคหลอดเลือดสมอง th_TH
dc.title การศึกษาปัญหาเพื่อสร้างรูปแบบพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในภาคตะวันออก th_TH
dc.title.alternative A study of problems for nursing development model to improve quality life of stroke patienst in Eastern region of Thailand en
dc.type Research th_TH
dc.year 2542
dc.description.abstractalternative The purposes of this study were to investigate factors affecting Quality of Life (QOL) and to ascertain predictive QOL indicators of stroke patients in Eastern Region of Thailand. The samples comprised of 390 follow up patients and re-admission patients of 4 general hospitals and 4 regional hospitals in Eastern Region of Thailand, and selected by purposive sampling technique. Data were collected by interviewing with questionaire (Social Dependent =.86, QOL=.82) and analyzed by Percentage, Arithmetic means, Standard deviation, Pearson's Product Moment Correlation, Stepwise Multiple Regression. The results of study were as follow 1. There were sigfinicant positive relationship at .01 level of QOL with Social Dependent Zr=.347), live in own home (r=.192), government officer (r=.167), post illness monthly family income (r=.148), monthly family expenses (r=.147), married status (r=.144), pre illness monthly family income (r=135) and at .05 level was problems related to disease (r=.102) 2. There were significant negative relationship at .01 level of QOL with labor career (r=-.174), live in non-own home (r= -.169), widow/divorce /separate (r= -.137), live in rental home (r = -.132) and at .05 level with utilize devices (r= -.112). 3. The result of Stepwise Multiple Regression analysis revealed that predictive indicators were social dependent, labor career, live in own home and expenses. The predictive model as follow: Y = 33.707+ (.460) (social denpent) + (.-3.368) (labor career) + (3.276) (live in own home) + (.000006)9expenses) Z = (.375) (social dependent) +9-.163) (labor career) +(.161) (live in own home)+ (.114) (expenses) Recommendations: government and health team should promote self care of stroke victims to independent persons, encorage them to stay in their own home and provide sufficient expenses and welfare. en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account