Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาจากปัจจัยต่างๆ และหาตัวทำนายคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในภาคนะวันออก กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในที่รับไว้รักษาซ้ำในโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไปในภาคตะวันออก จำนวน 390 คน เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม 2541 ถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2541 โดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีค่าความเชื่อมั่นในส่วนการพึ่งพาสังคม .82 และส่วนคุณภาพชีวิต .86 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการคำนวณ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในภาคตะวันออกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้แก่ การพึ่งพาสังคม (r=.347) การพักอาศัยในบ้านของตนเอง (r=.192) อาชีพรับราชการ/ รัฐวิสาหกิจ (r=.167) รายได้เฉลี่ยต่อเดือนของครอบครัวหลังเจ็บป่วย (r=.148) ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือนของครอบครัว (r=.147) สถานภาพสมรส (r=.144) รายได้เฉลี่ยต่อเดือนของครอบครัวหลังเจ็บป่วย (r=.135) และพบว่าปัญหาที่เกิดจากโรค เช่นการพูดไม่ชัด มองเห็นภาพซ้อน ฯ มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r=.102)
2. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางลบกับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในภาคตะวันออกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้แก่ อาชีพรับจ้าง (r=.174) การพักอาศัยอยู่กับผู้อื่น (r=.169) สถานภาพสมรส/ หม้าย/ หน่า แยก (r=.137) การพักอาศัยอยู่บ้านเช่า (r=.132) และพบว่าการใช้อุปกรณ์ช่วยขณะเคลื่อนไหวมีความสัมพันธ์ทางลบกับคุณภาพชีวิตอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 (r=.112)
3. ตัวทำนายคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในภาคตะวันออก ได้แก่ การพึ่งพา สังคม อาชีพรับจ้าง การพักอาศัยในบ้านของตนเองและค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือนของครอบครัว โดยสามารถเขียนสมการทำนายในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐาน ด้งนี้
Y = 33.707+(.460) (การพึ่งพาสังคม) + (.-3.368) (อาชีพรับจ้างป + (3.276) (การพักอาศัยในบ้านของตนเอง) + (.000006) (ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือนของครอบครัว)
Z= 9.375) (การพึ่งพาสังคม)+ (-.163) (อาชีพรับจ้าง) + (.161) (การพักอาสัยในบ้านของตนเอง) + (.144) (ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือนของครอบครัว)
ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้ที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะรัฐบาลและทีมสุขภาพควรตระหนักถึงการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดรคหลอดเลือดสมองโดยการส่งเสริมการพึ่งพาตนเอง การส่งเสริมให้พักอาศัยในบ้านของตนเอง ส่งเสริมให้มีอาชีพที่มีรายได้ที่แน่นอน มีค่าใช้จ่ายเพียงพอและมีสวัสดิการสังคม