dc.contributor.author | จำนง หอมเจริญ | |
dc.date.accessioned | 2023-01-17T07:38:01Z | |
dc.date.available | 2023-01-17T07:38:01Z | |
dc.date.issued | 2563 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/5087 | |
dc.description | โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากกองุทนวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปี พ.ศ. 2562 | th_TH |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อค้นหาความเสี่ยงจากกระบวนการทำงานจัดซื้อจัดจ้างของนักวิชาการพัสดุ 2) เพื่อหาแนวทางป้องกันความเสี่ยงจากกระบวนการทำงานจัดซื้อจัดจ้าง โดยวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลการวิจัยโดยใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักวิชาการพัสดุ จำนวนทั้งสิ้น 52 คน ที่ทำงานในมหาวิทยาลัยบูรพา โดยได้มาจากการสุ่ม กลุ่มตัวอย่างแบบไม่อาศัยความน่าจะเป็น (Nonprobability sampling) โดยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) จากกระบวนการทำงานงานจัดซื้อจัดจ้าง โดยใช้การบริหารจัดการความเสี่ยงระดับองค์กร (Enterprise Risk Management : ERM) ผลการวิจัย พบว่า การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) จากกระบวนการทางานจัดซื้อจัดจ้างส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง ดังนี้ ด้านกฎระเบียบข้อบังคับ พบว่า ขั้นตอนของกฎระเบียบ และข้อบังคับการปฏิบัติงานสอดคล้องกับกฎระเบียบข้อบังคับการจัดซื้อจัดจ้าง ความยืดหยุ่นของกฎระเบียบ และข้อบังคับการจัดซื้อจัดจ้าง เอื้อให้มีการทำงานจนสำเร็จและไม่ขัดแย้งกับกฎระเบียบข้อบังคับ มีโอกาสการเกิด ผลกระทบ และความเสี่ยงอยู่ในระดับสูง ด้านผู้บริหาร และนักวิชาการพัสดุ พบว่า นักวิชาการพัสดุ มีความเคร่งครัดในการปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับ การจัดซื้อจัดจ้าง และนักวิชาการพัสดุ มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎระเบียบข้อบังคับ การจัดซื้อจัดจ้างอย่างถ่องแท้ และผู้บริหารมีแนวโน้มที่จะปฏิบัติตามแผนงานโดยให้ความสำคัญต่อกฎระเบียบและข้อบังคับ มีโอกาสเกิดในระดับปานกลาง และผลกระทบอยู่ในระดับสูง และระดับความเสี่ยงสูง ด้านกระบวนการปฏิบัติงาน พบว่า เมื่อมีการจัดซื้อจัดจ้างตามระเบียบแล้ว พบปัญหา ในการทำงาน มีการรายงานปัญหาให้ผู้บริหารทราบ มีความเคร่งครัดในการปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับ การจัดซื้อจัดจ้าง การรายงานผลการจัดซื้อจัดจ้าง หลังจากที่ดำเนินการแล้ว มีโอกาสเกิดอยู่ ในระดับสูง และผลกระทบอยู่ในระดับปานกลาง และระดับความเสี่ยงสูง ด้านกิจกรรมควบคุมภายใน พบว่า ในด้านนี้ไม่พบตัวแปรที่มีความเสี่ยงสูง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าด้านกิจกรรมควบคุมภายในสามารถความคุมการทำงานได้ ด้านการวัดผลการปฏิบัติงาน การติดตามผล และการรายงานผล พบว่า ในด้านนี้ไม่พบตัวแปร ที่มีความเสี่ยงสูง ซึ่งแสดงให้เห็นว่า การวัดผลการปฏิบัติงาน การติดตามผล และการรายงานผลมีการทางานอย่างเป็นระบบ ด้านวิธีการติดต่อสื่อสาร พบว่า ในด้านนี้ไม่พบตัวแปรที่มีความเสี่ยงสูง ซึ่งแสดงให้เห็นว่า การติดต่อสื่อสารของผู้ปฏิบัติงานอย่างเป็น | th |
dc.description.sponsorship | กองุทนวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | การประเมินความเสี่ยง | th_TH |
dc.subject | การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ | th_TH |
dc.title | การประเมินความเสี่ยงในการจัดซื้อจัดจ้างตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 วิธีการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ของนักวิชาการพัสดุ ในมหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.type | Research | th_TH |
dc.year | 2563 | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The objectives of this research are 1) To find the risk from the procurement process of supplies analyst. 2)To find the risks protection from the procurement process by quantitative research. The research data was collected by questionnaires. The sample group used in this study is the supplies analyst consisting of 52 workers at Burapha University, using nonprobability sampling by purposive sampling. Risk Assessment from the procurement processused Enterprise Risk Management (ERM). The research found that risk assessment from procurement process is at medium level as follow: 1. Regulations, regulatory procedure and operation regulation comply with procurement regulation. Regulatory flexibility and procurement regulations support the success of work, does not conflict with rules and regulations. There are high chance to impact and risk. 2. Management and supplies analyst, strict in following rules and regulations. procurement. In addition, they also have a great knowledge and understanding of procurement regulations. Executives tend to follow the plan with emphasis on regulations and regulations are at a medium level, the impact is high, the risk is high 3. The work process, when the procurement according to the rules, problems were found in the work. They will be reported to the executive. The work is strictly in accordance with the rules, regulations, procurement, reporting after the procurement process, which have a high chance of occurrence. At the same time, the impact is at a medium level and a high-risk level. 4. Internal control activities, in this area were no high-risk variables. It shows that the internal control activities can control the work. 5. Performance measurement, monitoring, and reporting found that in this area no High-risk variables. Performance measurement, monitoring and reporting are systematic. 6. The method of communication does not find high-risk variables, it shows that the communication of the workers is systematic. | en |