Abstract:
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อค้นหาความเสี่ยงจากกระบวนการทำงานจัดซื้อจัดจ้างของนักวิชาการพัสดุ 2) เพื่อหาแนวทางป้องกันความเสี่ยงจากกระบวนการทำงานจัดซื้อจัดจ้าง โดยวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลการวิจัยโดยใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักวิชาการพัสดุ จำนวนทั้งสิ้น 52 คน ที่ทำงานในมหาวิทยาลัยบูรพา โดยได้มาจากการสุ่ม กลุ่มตัวอย่างแบบไม่อาศัยความน่าจะเป็น (Nonprobability sampling) โดยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) จากกระบวนการทำงานงานจัดซื้อจัดจ้าง โดยใช้การบริหารจัดการความเสี่ยงระดับองค์กร (Enterprise Risk Management : ERM)
ผลการวิจัย พบว่า การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) จากกระบวนการทางานจัดซื้อจัดจ้างส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง ดังนี้
ด้านกฎระเบียบข้อบังคับ พบว่า ขั้นตอนของกฎระเบียบ และข้อบังคับการปฏิบัติงานสอดคล้องกับกฎระเบียบข้อบังคับการจัดซื้อจัดจ้าง ความยืดหยุ่นของกฎระเบียบ และข้อบังคับการจัดซื้อจัดจ้าง เอื้อให้มีการทำงานจนสำเร็จและไม่ขัดแย้งกับกฎระเบียบข้อบังคับ มีโอกาสการเกิด ผลกระทบ และความเสี่ยงอยู่ในระดับสูง
ด้านผู้บริหาร และนักวิชาการพัสดุ พบว่า นักวิชาการพัสดุ มีความเคร่งครัดในการปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับ การจัดซื้อจัดจ้าง และนักวิชาการพัสดุ มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎระเบียบข้อบังคับ การจัดซื้อจัดจ้างอย่างถ่องแท้ และผู้บริหารมีแนวโน้มที่จะปฏิบัติตามแผนงานโดยให้ความสำคัญต่อกฎระเบียบและข้อบังคับ มีโอกาสเกิดในระดับปานกลาง และผลกระทบอยู่ในระดับสูง และระดับความเสี่ยงสูง
ด้านกระบวนการปฏิบัติงาน พบว่า เมื่อมีการจัดซื้อจัดจ้างตามระเบียบแล้ว พบปัญหา ในการทำงาน มีการรายงานปัญหาให้ผู้บริหารทราบ มีความเคร่งครัดในการปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับ การจัดซื้อจัดจ้าง การรายงานผลการจัดซื้อจัดจ้าง หลังจากที่ดำเนินการแล้ว มีโอกาสเกิดอยู่ ในระดับสูง และผลกระทบอยู่ในระดับปานกลาง และระดับความเสี่ยงสูง
ด้านกิจกรรมควบคุมภายใน พบว่า ในด้านนี้ไม่พบตัวแปรที่มีความเสี่ยงสูง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าด้านกิจกรรมควบคุมภายในสามารถความคุมการทำงานได้
ด้านการวัดผลการปฏิบัติงาน การติดตามผล และการรายงานผล พบว่า ในด้านนี้ไม่พบตัวแปร ที่มีความเสี่ยงสูง ซึ่งแสดงให้เห็นว่า การวัดผลการปฏิบัติงาน การติดตามผล และการรายงานผลมีการทางานอย่างเป็นระบบ
ด้านวิธีการติดต่อสื่อสาร พบว่า ในด้านนี้ไม่พบตัวแปรที่มีความเสี่ยงสูง ซึ่งแสดงให้เห็นว่า การติดต่อสื่อสารของผู้ปฏิบัติงานอย่างเป็น