DSpace Repository

เจตคติต่อการเลือกเรียนอาชีพในอุดมคติและการเลือกเรียนวิชาชีพพยาบาลในนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5

Show simple item record

dc.contributor.author พรนภา หอมสินธุ์ th
dc.contributor.author รุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์ th
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T08:51:53Z
dc.date.available 2019-03-25T08:51:53Z
dc.date.issued 2542
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/503
dc.description.abstract การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงเจตคติต่อการเลือกเรียนวิชาชีพพยาบาลภายหลังเข้าร่วมโครงการเมื่อเทียบดับเจตคติต่อการเลือกเรียนอาชีพในอุดมคติที่ตั้งไว้ของนักเรียน โดยเป็นการศึกษาแบบวิจัยกึ่งทดลองแบบศึกษา 2 กลุ่ม วัด 2 ครั้ง กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่กำลังศึกษาในกาคการศึกษาที่ 2 ในโรงเรียนเขตจังหวัดชลบุรีและจังหวัดระยอง ซึ่งได้รับการสุ่มเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมตามลำดับโรงเรียนในแต่ละจังหวัดจะถูกเลือกมาเป็นกลุ่มตัวอย่างจังหวัดละ 5 โรงเรียน โดยเป็นโรงเรียนในเขตอำเภอเมือง 1 แห่ง ใกล้เมือง 2 แห่ง และไกลจากตัวเมือง 2 แห่ง ได้กลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 242 คน กลุ่มควบคุม จำนวน 248 คน กลุ่มทดลองเข้าร่วมโครงการ โดยการได้รับข้อมูลเกี่ยวกับวิชาชีพพยาบาลด้วยวีดิทัศน์และการอภิปรายซักถาม รวมใช้เวลานาน 30 นาที แบบสอบถามที่ใช้บางส่วนได้สรา้งขึ้นใหม่และบางสาวนได้ดัดแปลงมาจาก การศึกษาของเมย์ ออสติน และแชมเปียน ซึ่งแบบวัดดังกล่าวมีลักษณะเป็นมาตรวัดแบบออสกูด 7 ระดับ โดยแบบวัดดังกล่าวมีค่าความเที่ยงของเครื่องมืออยู่ในระดับสูงดังนี้ แบบวัดการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .07925 แบบวัดเจตคติต่อการเลือกเรียนวิชาชีพพยาบาล มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.9443 แบบวัดเจตคติต่อการเลือกเรียนอาชีพในอุดมคติมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.9201 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา การทดสอบไคสแคว์ การทดสอบค่าทีเป็นอิสระต่อกัน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม ผลการศึกษา พบว่า ก่อนการเข้าร่วมโครงการทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพพยาบาล เจตคติต่อการเลือกเรียนวิชาชีพพยาบาลและอาชีพในอุดมคติ และผลต่างของเจตคติต่อการเลือกเรียนอาชีพในอุดมคติกับเจตคติต่อการเลือกเรียนวิชาชีพพยาบาลไม่แตกต่างกัน แต่เนื่องจากก่อนเข้าร่วมโครงการรายได้ครอยครัวและการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมแตกต่างกันจึงได้วิเคราะห์ด้วยสถิติความแปรปรวนร่วมเพื่อทดสอบว่ารายได้ครอบครัว การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง และการเข้าร่วมโครงการจะมีอิทธิพลร่วมกันต่อการเปลี่ยนแปลงความแตกต่างระหว่างผลต่างของเจตคติต่อการเลือกเรียนอาชีพในอุดมคติต่อการเลือกเรียนพยาบาลหรือไม่ พบว่ารายได้ครอบครัวไม่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ส่วนการเข้าร่วมโครงการมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงความแตกต่างระหว่างผลต่างของเจตคติต่อการเลือกเรียนอาชีพในอุดมคติกับเจตคติต่อการเลือกเรียนวิชาชีพโดยมีการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงเป็นตัวแปรร่วม นั่นเอง การให้ข้อมูลเกี่ยวกับวิชาชีพพยาบาลการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงสามารถเปลี่ยนแปลงเจตคติต่อการเลือกวิชาชีพพยาบาลในเด็กนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายได้ th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject การศึกษาทางวิชาชีพ th_TH
dc.subject พยาบาล th_TH
dc.subject การพยาบาล th_TH
dc.subject นักเรียนมัธยมศึกษา - - การศึกษาต่อ th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ th_TH
dc.title เจตคติต่อการเลือกเรียนอาชีพในอุดมคติและการเลือกเรียนวิชาชีพพยาบาลในนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 th_TH
dc.title.alternative Attitudes towards the choices of ideal career and the nursing career among the mathayom 5 students en
dc.type Research
dc.year 2542
dc.description.abstractalternative The purposes of this study were to compare the change of attitudes towards the choices of ideal careers with the nursing career after the intervention. The design of this study was quasi-experimental, i.e. a pretest-posttest design with non equivalent groups. The sampling groups were female students studying in the 2 nd semester of Mathayom 5 in Chonburi and Rayong provinces (experimental and control groups respectively). In each province, 5 schools were selected: 1 urban 2 suburban, and 2 rural. All of the female students were the sampling groups, the samples comprise 242 in the experimental group, 248 the control group. The intervention, a presentation of nursing career was delivered to the experimental group by video and discussion. The total presentation was about 30 mibutes in length. The questionnaire was modified from May, Austin and Champion in a Sigma Theta International study and some parts were prepared by the researchers. The questionnaire was on the semantic Differential Scale (Osgood's Scale) of 7 levels. The questionnaire had high reliability: the subjective norms (0.7925), attitude towards the choices of nursing career (0.9443) and attitude towards the choices of ideal career (0.9201). Data were analyzed by a combination of methods, including descriptive statistics, X2 test, Independent-samples t-test and ANCOVA. Results: Before the intervention, there had been no significant differences between the experimental and control groups regarding G.P.A., experiences of nursing, attitude towards the choice of nursing career, attitudes towards the choice of ideal career, and the difference between the attitudes towards the choice of ideal career and the choice of nursing career. However, the family income and the subjective norms were different. After the intervention, the change of difference between attitudes towards the choice ideal career and the choice of nursing career was analyzed, ANCOVA, treating the family income and the intervention as the main effect and the subjective norms as the covariance. The results was that the family income did not affect the change of difference between attitudes towards the choies of ideal career and the choice of nursing career. However, the intervention and the subjective norms did. In conclusion, the intervention had an impact on the samples' attitudes towards the choice of nursing career conditioned by the subjective. norms en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account