dc.description.abstract |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบรูปแบบการเรียนรู้ของนิสิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จำแนกตามเพศ ปีที่เข้าศึกษา และสาขาวิชาเอก
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นิสิตระดับปริญญาตรี หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต 5 ปี ที่เข้าศึกษาในปีการศึกษา 2547-2548 ของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ได้มาโดยการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างจากตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan) โดยสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 234 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามวึ่งผู้วิจัยพัฒนามาจากแบบวัดรูปแบบการเรียนรู้ของกราชราและรีชมัน (Grasha and Riechmann) มีค่าความเชื่อมั่น .87 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ SPSS for Windows Version 10.01) เพื่อหาค่าร้อยละ (Percentage) และค่าไคสแควร์ (Chi-square)
ผลการวิจัยพบว่า
1. นิสิตคณะศึกษาศาตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา มีรูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Collaborative) มากที่สุด จำนวน 106 คน คิดเป็นร้อยละ 45.3 รองลงมาคือ แบบพึ่งพา (Dependent) จำนวน 60 คน คิดเป็นร้อยละ 25.6 แบบมีส่วนร่วม (Participant) จำนวน 49 คน คิดเป็นร้อยละ 20.9 แบบอิสระ (Independent) จำนวน 13 คน คิดเป้นร้อยละ 5.6 แบบหลีกเลี่ยง (Avoidance) จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 1.7 และแบบแข่งขัน (Competitive) น้อยที่สุด จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 0.9
2. นิสิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ที่มีเพศต่างกัน ปีที่เข้าศึกษาต่างกัน และสาขาวิชาเอกต่างกัน มีรูปแบบการเรียนรู้ไม่แตกต่างกัน.
The purpose of this research was to study and to compare learning styles of student teachers at Faculty of Education, Burapha University. The student teachers were classified by sex, year of admission and program of study.
A sample consisted of 234 student teachers in the Bachelor of Education and Bachelor of Science degree programs (5 years) during the 2004-2005 academic years at Faclty of Education, Burapha University. The sample size was determined by using a Krejcie and Morgan's table. The sampling method used in this study was stratified sampling. The student learning styles questionnaire was developed from Grasha and Riechmann's with realiability coefficient at .87. The chi-square and percentage were analyzed by statistical program SPSS version 10.01 (Statistical Package for Social Science)
The findings of this research were as follows:
1. The majority of respondents (106 student teachers, 45.3 percent) chose collaborative learning styles followed by dependent learning styles (60 student teachers, 25.6 percent), participant learning styles (49 student teachers, 20.9 percent), independent learning styles (13 student teachers, 5.6 percent), avoidance learning styles (4 student teacher, 1.7percent) and competitive learning styles (2 student teachers, 0.9 percent).
2. The learning styles of student teachers classified by sex, year of admission and program of study were not significantly different. |
th_TH |