Abstract:
ขุนช้างขุนแผนเป็นวรรณคดีบันเทิงสำหรับขับเสภา การศึกษาวิจัยนี้จึงมุ่งศึกษาศิลปะในการประสานสัมพันธ์องค์ประกอบของวรรณคดี เรื่องขุนช้างขุนแผนกับองค์ประกอบของคีตศิลป์ประเภทขับเสภา
วิธีการศึกษาวิจัย ผู้วิจัยใช้วิธีศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาวรรณคดีในเชิงวรรณศิลป์ ทฤษฎีรส คีตศิลป์ ตำนานเสภา องค์ประกอบของเสภา และการประชาสัมพันธ์ วรรณศิลป์กับคีตศิลป์ รวมถึงการฝึกปฏิบัติขับเสภาและการขยับกรับเสภาไม้ต่าง ๆ จากครูผู้เชี่ยวชาญ แล้วเสนอผลการวิจัยด้วยวิธีพรรณาวิเคราะห์
การศึกษาวิจัยปรากฎผลว่า การประสานองค์ประกอบของวรรณคดี เรื่อง ขุนช้างขุนแผนในส่วนที่เป็นวัสดุ คือ โครงเรื่อง เนื้อเรื่อง และภาวะรักไม่สมหวังระหว่างตัวละครเอกกับตัวละครฝ่ายปฏิปักษ์กับองค์ประกอบในส่วนที่เป็นอลังการ คือ กระบวนกลอน อย่างมีศิลปะทำให้เกิดกรุณารสเป็นรสเด่น โดยมีศฤงคารรส วีรรส และเราทรรสเป็นรสเสริม
ในการศึกษาองค์ประกอบของคีตศิลป์ประเภทขับเสภาเล่าเรื่องหรือเสภานิทาน ซึ่งได้แก่ บทขับ ทำนองเสภา และจังหวะกรับเสภาไม้ต่าง ๆ ปรากฎผลว่า บทขับเป็นองค์ประกอบส่วนที่สำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดทำนองเสภารูปแบบต่าง ๆ ทำนองเสภาลีลาเสาวรจนีและนารีปราโมทย์สัมพันธ์กับศฤงคารรส ลีลาพิโรทธวาทังสัมพันธ์กับเราทรรสและวีรรส ลีลาสัลลาปังคพิสัยสัมพันธ์กับกรุณารสและศฤงคารรส ส่วนเสภาสำเนียงลาว มอญ แขก และจีน สัมพันธ์กับเชื้อชาติและสถานภาพของตัวละคร การได้ฟังทำนองเสภารูปแบบต่าง ๆ ประสานสัมพันธ์กับจังหวะกรับเสภาไม้ต่าง ๆ ทำให้ผู้เสพวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผนได้รสด่นชัดยิ่งขึ้น วรรณศิลป์และคีตศิลป์จึงต่างมีบทบาทในการเสริมคุณค่าแก่กันและกันอันเป็นผลให้วรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผนมีความเป็นเลิศ ในประเภทกลอนสุภาพตามที่ได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรสมัยรัชกาลที่ 6
Khun Chang Khun Phaen is an entertaining literary work composed for Sepha singing. The purpose of this research is to study the artistic combination of its literary components and the musical components of a musical art belong to the Sepha category
The research is carried out by both theoretical and practical methods. Theorettically,the literature reviewed is that concerning literary art studies, the Sanskrit theory of Rasas (sentiments), the musical art, the legend and the components of the Sepha, and the combination of literary and musical arts. Practically, the Sepha singing and the performance of the Krab (claves) are pratised under the supervision of experts.
The consequence of the theoretical study is that the combination of the material components, ie the them, the plot and the broken triangular love affair of the protagonist and antagonist; and the artistic component, ie the poetic composition, make the Karunarasa (sentiment of sorrow) the most outstanding sentiment, with the Sringarasa (sentiment of love) the Virasa (sentiment of bravery) and the Raudrarasa (sentiment of anger) as the supporting ones.
In studying the components of a musical art called the narrative Sepha (cf. ballad) ie the Sepha words, the melody and the performing patterns of the Krab (claves), the consequence is that the words are the most significant component in the creation of diffence melodic patterns.
The Sauwarotchani (beauty-admiring) and the Naripramot (courting) styles corresponds to the Sringarara (sentiment of love), the Phirotwathang (chiding) style to the Raudrarasa (sentiment of anger) and the Virarasa (sentiment of bravery), and the Sallapangkhaphisai (lamenting) style to the Karunnarasa (sentiment of sorrow). Moreover, the Sepha singing in Lao, Mon. Indian or Chinese style corresponds to the race and status of the character.
The listening of the Sepha in various melodic patterns together with various instrumental patterns (as performed with the Krab or claves) enables the listeners of this particular work perceive the Rasas (sentiments) more cleary. The literary and musical arts, therefore, play equal roles supporting each other, resulting in the outstanding quality of Khun Chang Khun Phaen among all literary works composed in Klon Suphap, as awarded by the Wannakhadi Samosorn (Literature Club) in the reign of King Rama VI.