Abstract:
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมเสี่ยงต่อการมีปัญหาของเด็กวัยรุ่น (Risk Problem Behavior of Adolescent) จำแนกตามเพศ สภาพครอบครัว และการอบรมเลี้ยงดู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักเรียนโรงเรียนสาธิต "พิบูลบำเพ็ญ" มหาวิทยาลัยบูรพา ปีการศึกษา 2545 จำนวน 152 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบประเมินพฤติกรรมของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว One-way และ t-test ผลการทดสอบเป็นรายคู่แบบ q-stalistion ของนิวแมนคูลส์ (Newman-Keuls) ผลการวิเคราะห์ข้อมูล 1. เด็กวัยรุ่นที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการมีปัญหามีเพศต่างกัน มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการมีปัญหาแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 2. เด็กวัยรุ่นที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการมีปัญหามีสถานภาพครอบครัวต่างกัน มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการมีปัญหาแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3. เด็กวัยรุ่นที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการมีปัญหามีการอบรมเลี้ยงดูต่างกัน มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการมีปัญหาแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ