dc.contributor.author |
แววตา ทองระอา |
th |
dc.contributor.author |
ฉลวย มุสิกะ |
th |
dc.contributor.author |
วันชัย วงสุดาวรรณ |
th |
dc.contributor.author |
อาวุธ หมั่นหาผล |
th |
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล |
|
dc.date.accessioned |
2019-03-25T08:45:44Z |
|
dc.date.available |
2019-03-25T08:45:44Z |
|
dc.date.issued |
2549 |
|
dc.identifier.uri |
http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/47 |
|
dc.description.abstract |
การปนเปื้อนของโลหะหนัก ปรอท แคดเมียม ตะกั่ว สังกะสี ทองแดง นิเกิล เหล็ก และ แมงกานีส ในน้ำทะเลและดินตะกอน ได้ทำการศึกษาในบริเวณชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกตั้งแต่ปากแม่น้ำบางปะกง จ. ฉะเชิงเทรา ถึงปากแม่น้ำตราด จ. ตราด โดยศึกษาในรูปของปริมาณโลหะหนักรวมและศึกษาคุณภาพน้ำและคุณภาพดินตะกอนบางประการด้วย เก็บตัวอย่างน้ำทะเลและดินตะกอน 2 ครั้ง คือในฤดูแล้ง (มีนาคม 2547) และฤดูฝน (สิงหาคม 2547) รวม 52 สถานี พบว่า โลหะหนักในน้ำทะเลมีค่าน้อยและอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำทะเลชายฝั่งของไทย ยกเว้นเหล็กและแมงกานีสที่มีค่าสูงเกินมาตรฐานพบในบริเวณปากแม่น้ำ จ. จันทบุรีและตราด สำหรับในดินตะกอน พบว่ามีโลหะหนักบางชนิดที่มีค่าสูงเกินเกณฑ์มาตรฐานของต่างประเทศ โดยเฉพาะปรอท ตะกั่ว และสังกะสีในบริเวณนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จ.ระยอง เนื่องจากประเทศไทยยังไม่มีมาตรฐานโลหะหนักในดินตะกอนกำหนดไว้ ส่วนเหล็กและแมงกานีสมีค่าสูงมากในดินตะกอนโดยเฉพาะบริเวณปากแม้น้ำ จ. จันทบุรีและตราด การประเมินระดับความรุนแรงการปนเปื้อนของโลหะหนักในกินตะกอนจากการวิเคราะห์หาค่าดัชนีวัดการสะสมทางธรณี (geoaccumulation index) โดยเทียบกับความเข้มข้นของโลหะหนักที่เกิดจากธรรมชาติ พบว่ามีเพียงตะกั่วเท่านั้นที่อยู่ในสภาพไม่ปนเปื้อน/ ปนเปื้อนไม่รุนแรง ซึ่งแสดงว่าอาจมีการปนเปื้อนของตะกั่วบางส่วนในดินตะกอนจากกิจกรรมของมนุษย์ โดยเฉพาะนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดมีการปนเปื้อนมากที่สุด
นอกจากนี้ พบว่า การเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลมีอิทธิพลต่อความเข้มข้นของโลหะหนักที่พบในน้ำทะเลมากกว่าในดินตะกอน โลหะหนักส่วนใหญ่ในน้ำทะเลมีความสัมพันธ์ทางลบกับความเค็ม แต่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับตะกอนแขวนลอยและสารอินทรีย์ที่ละลายน้ำวัดในรูปของฟลูออเรสเซนซ์ สำหรับในดินตะกอนนั้นพบว่า ส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับค่าความจุในการแลกเปลี่ยนอิออนบวกสารอินทรีย์ ออกไซด์ของเหล็กและแมงกานีส ดินเหนียว และทรายแป้ง แต่มีความสัมพันธ์ทางลบกับค่าความเป็นกรด-ด่างของดินตะกอน |
th_TH |
dc.description.sponsorship |
ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากงบประมาณแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ 2547 สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา พ.ศ. 2549 |
en |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.publisher |
สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา |
th_TH |
dc.subject |
การตกตะกอนชายฝั่ง - - ไทย (ภาคตะวันออก) - - วิจัย |
th_TH |
dc.subject |
มลพิษทางทะเล - - ไทย (ภาคตะวันออก) - - วิจัย |
th_TH |
dc.subject |
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา |
th_TH |
dc.subject |
เขตเศรษฐกิจ - - ไทย (ภาคตะวันออก) - - วิจัย |
th_TH |
dc.subject |
โลหะหนัก - - การวิเคราะห์ - - วิจัย |
th_TH |
dc.subject |
โลหะหนัก - - แง่สิ่งแวดล้อม - - วิจัย |
th_TH |
dc.title |
การปนเปื้อนของโลหะหนักในน้ำและดินตะกอนบริเวณชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก |
th_TH |
dc.title.alternative |
Contamination of Some Heavy Metals in Seawater and Sediments along the Eastern coast of thailand |
en |
dc.type |
Research |
|
dc.year |
2549 |
|
dc.description.abstractalternative |
Contamination of total Hg,Cd,Pb,Zn,Cu,Ni,Fe and Mn in seawater and sediments were investigated along the Eastern coast of Thailand from Bangpakong estuary, Chachoengsao province to Trat estuary, Trat province (52 stations). Some water qualities and sediment charecteristics were also investigated. The samples of seawater and sediments were collected in the dry (March 2004) and wet (August 2004) seasons. The concentrations found in seawater were low and within Thai coastal water quality standard, except Fe and Mn in some stations at the rever mouths in Chantaburi and Trat provinces. Some heavy metals in the sediments exceeded the acceptable criteria/ guidelines set in some countries., especially Hg, Pb and zn at Map Ta Phut industrial estate, Rayong province. There is no sediment quality standard developed yet in Thailand. Fe and Mn were also found to be very high in the sediments esdiments especiallty at the river mouths in Chantaburi and Trat provinces. Geoaccumulation index (Igeo) was calculated in comparison with geochemical background concentrations (average shale and average shale and average crustal abundance) to assess the anthropogenic inputs of heavy metals in the sediments. Result showed that only Pb was found to be unpolluted/ moderately polluted, especially the highest contamination was found at Map Ta Phut industrial estate.
In addition, seasonal changes had more influence on the concentrations of heavy metals in seawater than those in the sediments. Most heavy metals in seawater showed negative correlation with salinity, and showed positive correlations with suspended solids and DOCfluorescence, while those in the sediments showed positive correlations with CEC, organic matter, Fe and Mn oxides, clay and silt, and showed negative correlation with sediment pH |
en |