dc.contributor.author |
วีระพันธ์ พานิชย์ |
|
dc.date.accessioned |
2022-08-09T07:37:43Z |
|
dc.date.available |
2022-08-09T07:37:43Z |
|
dc.date.issued |
2022 |
|
dc.identifier.issn |
1906-9308 |
|
dc.identifier.uri |
http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4651 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาบทเรียนออนไลน์ปฏิสัมพันธ์ เรื่อง การคิดเชิงระบบกับการวิเคราะห์ปัญหา สำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพา 2) ประเมินประสิทธิภาพบทเรียนออนไลน์ปฏิสัมพันธ์ เรื่อง การคิดเชิงระบบกับการวิเคราะห์ปัญหา ตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ E1/E2 (80/80) 3) ประเมินทักษะการคิดเชิงระบบกับการวิเคราะห์ปัญหาของนิสิต หลังจากเรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ปฏิสัมพันธ์ เรื่อง การคิดเชิงระบบกับการวิเคราะห์ปัญหา 4) เปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนกับคะแนนหลังเรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ปฏิสัมพันธ์ เรื่อง การคิดเชิงระบบกับการวิเคราะห์ปัญหา เป็นการวิจัยและพัฒนาโดยใช้กระบวนการ ADDIE Model ได้แก่ 1) การวิเคราะห์ (A : Analysis) 2) การออกแบบ (D : Design) 3) การพัฒนา (D : Development) 4) การใช้จริง (I : Implementation) และ 5) การประเมินผล (E : Evaluation) ประเมินคุณภาพบทเรียนออนไลน์โดยผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการศึกษาและการคิดเชิงระบบ จำนวน 5 คน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพา ที่เรียนวิชาการคิดเชิงระบบกับการวิเคราะห์ปัญหา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 40 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) บทเรียนออนไลน์ปฏิสัมพันธ์ เรื่อง การคิดเชิงระบบกับการวิเคราะห์ปัญหา 2 ) แบบประเมินคุณภาพบทเรียนออนไลน์ 3) แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน 4) แบบประเมินทักษะการคิดเชิงระบบกับการวิเคราะห์ปัญหา สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย, ร้อยละ, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, การทดสอบประสิทธิภาพ E1/E2 และ t-test
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการพัฒนาได้บทเรียนออนไลน์ปฏิสัมพันธ์ เรื่อง การคิดเชิงระบบกับการวิเคราะห์ปัญหา สำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพา ประกอบด้วยบทเรียน 4 หน่วยการเรียนรู้ ได้แก่ 1) พื้นฐานการคิดเชิงระบบ 2) การคิดวิเคราะห์และเครื่องมือช่วยพัฒนาการคิด 3) องค์กรการเรียนรู้และกระบวนการคิดเชิงระบบ 4) การวิเคราะห์ปัญหาด้วยวิธีการคิดเชิงระบบ ผู้เชี่ยวชาญประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X} = 4.15, S.D. = 0.23)
2. บทเรียนออนไลน์ปฏิสัมพันธ์ เรื่อง การคิดเชิงระบบกับการวิเคราะห์ปัญหา สำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพามีประสิทธิภาพ E1/E2 ดังนี้ หน่วยการเรียนที่ 1 = 80.16 /81.00, หน่วยการเรียนที่ 2 = 82.71 /81.75, หน่วยการเรียนที่ 3 = 89.79 /80.25, หน่วยการเรียนที่ 4 = 87.36 /82.50 สรุปได้ว่าประสิทธิภาพบทเรียนออนไลน์ทุกหน่วยการเรียนสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
3. ทักษะการคิดเชิงระบบกับการวิเคราะห์ปัญหาของนิสิต หลังจากเรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ปฏิสัมพันธ์ เรื่อง การคิดเชิงระบบกับการวิเคราะห์ปัญหา เฉลี่ยอยู่ในระดับดีมาก (ร้อยละ 80.21)
4. การเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนกับคะแนนหลังเรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ปฏิสัมพันธ์ เรื่อง การคิดเชิงระบบกับการวิเคราะห์ปัญหา เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
th_TH |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.publisher |
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
th_TH |
dc.subject |
แบบเรียนสำเร็จรูปปฏิสัมพันธ์ |
th_TH |
dc.subject |
ความคิดและการคิด |
th_TH |
dc.subject |
แบบเรียนสำเร็จรูป |
th_TH |
dc.subject |
การเรียนรู้ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ |
th_TH |
dc.subject |
การศึกษาขั้นอุดมศึกษา |
th_TH |
dc.title |
การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ปฏิสัมพันธ์ เรื่อง การคิดเชิงระบบกับการวิเคราะห์ปัญหา สำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพา |
th_TH |
dc.title.alternative |
The development of interactive online lessons on system thinking and problem analysis for Burapha University undergraduate students |
th_TH |
dc.type |
Article |
th_TH |
dc.issue |
1 |
th_TH |
dc.volume |
13 |
th_TH |
dc.year |
2022 |
th_TH |
dc.description.abstractalternative |
The purposes of this study were to 1) develop interactive online lessons on system thinking and problem analysis for undergraduate students at Burapha University; 2) Evaluate the efficiency of Interactive online lessons on system thinking and problem analysis according to the criteria E1/E2 (80/80); 3) Assess students' system thinking and problem analysis skills after studying with interactive online lessons on system thinking and problem analysis; 4)Compare scores between pre-test and post-test. This study is a research and development based on the ADDIE Model processes which are 1) Analysis 2) Design 3) Development 4) Implementation 5) Evaluation. Online lesson quality was assessed by 5 educational technology and System thinking specialists. The sample consisted of 40 undergraduate student of Burapha University who studied the subject of System Thinking and Problem Analysis in the first semester of the academic year 2020 which is selected by a cluster random method. The research instruments included: 1) The interactive online lessons on system thinking and problem analysis 2) Online lessons quality assessment form 3) Pre-test and Post-test 4) Assess student’s systems thinking and problem analysis skills. The data was analyzed by using percentage, means, Standard Deviation, efficiency E1/E2 and t-test.
The results of this study found that:
1. The interactive online lessons on system thinking and problem analysis for undergraduate students at Burapha university is developed which contains 4 units as follows: 1) Fundamentals of system thinking 2) analytical thinking and tools for thinking development 3) learning organizations and systems thinking processes, and 4) problem analysis by system thinking. The overall assessment by experts was at a high level (gif.latex?\bar{X} = 4.15, S.D. = 0.23).
2. The efficiency of Interactive online lessons on system thinking and problem analysis for undergraduate students at Burapha University, E1/E2, for unit 1 is 80.16 /81.00, unit 2 is 82.71 /81.75, unit 3 is 89.79 /80.25 and unit 4 is 87.36 /82.50 which more than the criterion set 80/80.
3. Students' system thinking and problem analysis skills after study on interactive online lessons on system thinking and problem analysis are at the highest level (80.21 %)
4. The post-test score after study on interactive online lessons on system thinking and problem analysis is higher than pre-test at .05 level significant. |
th_TH |
dc.journal |
HRD journal. |
th_TH |
dc.page |
53-74. |
th_TH |