Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปรับตัวของพนักงานธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ที่มีต่อการเข้ามาของระบบธุรกรรมการเงินอิเล็กทรอนิกส์ (กรณีศึกษา : พนักงานธนาคารกรุงเทพกลุ่มสาขาในพัทยา) โดยใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือพนักงานธนาคารกรุงเทพในเขตเมืองพัทยา ขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 118 คน เครื่องมือวิจัยใช้แบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า พนักงานมีการปรับตัวในการทำงานรูปแบบธุรกรรมการเงินอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น ซึ่งมีส่วนน้อยที่ยังมีการเรียนรู้เพิ่มเติมในระบบการทำงาน ด้านการปรับตัวในด้านร่างกาย พบว่า พนักงานธนาคารกรุงเทพทุกคนมีการแบ่งแบ่งเวลาในการพักผ่อนและออกกำลังกายมากขึ้น เพื่อลด ความเสี่ยงในการทำธุรกรรมการเงินอันเป็นผลดีต่อไปกับการปฏิบัติงานเป็นระยะเวลายาว (ค่าเฉลี่ย = 3.55) ด้านการปรับตัวด้านอัตมโนทัศน์ พบว่า พนักงานทุกคนมีการเรียนรู้และยอมรับการเปลี่ยนแปลงของระบบธุรกรรมการเงินในอนาคตเพื่อตอบสนองความต้องการในปัจจุบัน ไม่นำปัญหาส่วนตัวเข้ามายุ่งเกี่ยวกับ การทำงานระหว่างวัน (ค่าเฉลี่ย = 3.63) ด้านบทบาทหน้าที่ พบว่า พนักงานมีการเรียนรู้และฝึกอบรมการทำงานอยู่เสมอ เข้าใจในบทบาทการทำงานของตนเองไม่ยุ่งเกี่ยวสิ่งอื่นเพื่อให้เป็นไปตามมาตราฐานขององค์กร (ค่าเฉลี่ย = 3.74) และด้านพึ่งพาระหว่างกันและกัน พบว่า พนักงานทุกคนใส่ใจในรายละเอียดของเพื่อนร่วมงานมากขึ้น และให้ความรู้ความเข้าใจของระบบงานใหม่อยู่เสมอทำงานเป็นทีม ส่งผลให้การทำงานมีประสิทธิภาพและเกิดผลสำเร็จสูงสุด (ค่าเฉลี่ย = 3.92) และปัจจัยที่มีผลต่อการปรับตัวของพนักงานธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) พบว่า ปัจจัยทางเพศ อายุ สถานภาพ การศึกษา รายได้ และตำแหน่ง ไม่มีผลต่อการปรับตัวของพนักงานธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ปัญหาและข้อเสนอแนะ การเข้ามาของระบบธุรกรรมการเงินอิเล็กทรอนิกส์เป็นการพัฒนาอย่างรวดเร็วซึ่งส่งผลให้การทำงานจะต้องมีการปรับเปลี่ยนไปในทิศทางที่แตกต่างจากเดิม ซึ่งธุรกรรมการเงินอิเล็กทรอนิกส์จะเป็นการเปิดการมุ่มมองของธนาคารในอนาคต เพื่อเปลี่ยน แปลงการใช้ชีวิตทางการเงินให้มีความทันสมัยและก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเพื่อตอบโจทย์การใช้ชีวิตของคนในปัจจุบัน ทำให้ธนาคารกรุงเทพมีการจัดการฝึกอบรมพนักงานให้มีความรู้ความเข้าใจในระบบการทำงานรูปแบบใหม่อยู่ตลอดเวลา ให้คำแนะนำกับประชาชนในการใช้งานระบบธุรกรรมการเงินเพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้งาน ตลอดจนสิทธิประโยชน์ของประชาชนที่ใช้บริการกับทางธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)