Abstract:
เพื่อศึกษาชนิดของอาหาร และระยะเวลาการเปลี่ยนอาหารที่เหมาะสมต่ออัตรารอด และการเจริญเติบโตของกุ้ง เมดูซาวัยอ่อน Latreutes anoplonyx เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการอนุบาลลูกกุ้งเมดูซาให้มีการเจริญเติบโตสูงขึ้น และมีพัฒนาการเข้าสู่ระยะโพสลาร์วาเร็วขึ้น ด้วยโปรแกรมการให้อาหารต่างกัน 3 รูปแบบ ๆ ละ 3 ซ้ำ (CRD) โดยให้ลูกกุ้งระยะแรกฟักกินแพลงก์ตอนพืช (Chaetoceros sp.) 1.5x105 เซลล์/มิลลิลิตร จนลูกกุ้งมีอายุ 10 วัน และเริ่มให้แพลงก์ตอนสัตว์เมื่อ ลูกกุ้งเริ่มกินแพลงก์ตอนสัตว์ เมื่ออายุ 11 วัน ไปจนลูกกุ้งมีพัฒนาการเข้าสู่ระยะโพสลาร์วา โดยชุดการทดลองที่ 1 ให้ลูกกุ้งกินโรติเฟอร์เพียงชนิดเดียว (Brachionussp.) 5 เซลล์/มิลลิลิตร (T1 ) ส่วนชุดการทดลองที่ 2 ให้ลูกกุ้งกินโรติเฟอร์3 เซลล์/ มิลลิลิตร ผสมอาร์ทีเมีย (Artemiasp.) 1 เซลล์/มิลลิลิตร (T2
) และชุดการทดลองที่ 3 ให้ลูกกุ้งกินโรติเฟอร์เพียงชนิดเดียว 5 เซลล์/มิลลิลิตร ไปจนลูกกุ้งมีอายุ 15 วัน แล้วปรับเปลี่ยนชนิดของอาหารมาเป็นอาร์ทีเมีย 1 เซลล์/มิลลิลิตร (T3 ) โดยใช้ ตู้ทดลอง ขนาด 20x20x25 เซนติเมตร (กว้างxยาวxสูง) จ านวน 9 ตู้ ปริมาตรน้ำ 5 ลิตร ความเค็มเท่ากับ 30 ppt ปล่อยลูกกุ้งความหนาแน่น 3 ตัว/ลิตร ผลการวิจัยพบว่าชนิดของอาหาร และระยะเวลาการเปลี่ยนอาหารไม่มีผลต่ออัตรารอด และระยะพัฒนาการ แต่มีผลต่อการเจริญเติบโตของลูกกุ้ง โดยมีอัตรารอดเฉลี่ย (+SE) ร้ อยละ 59.9+4.0, 66.7+3.9และ 66.7+6.7 ตามลำดับ (P>0.05) และการอนุบาลลูกกุ้งด้วย T3 มีความยาวเหยียดเมื่อสิ้นสุดการทดลองเฉลี่ย (+SE) มากที่สุด 6.20+0.00 มิลลิเมตร (P<0.05) และลูกกุ้งมีระยะพัฒนาการ ระยะซูเอีย 9 ระยะ แล้วเข้าสู่ระยะโพสลาร์วา เมื่ออายุ 17, 15 และ 15 วัน ตามลำดับ (P<0.05) สรุปว่า ควรให้คีโตเซอรอสจนลูกกุ้งมีอายุ 10 วัน แล้วปรับเปลี่ยนเป็นโรติเฟอร์เพียงชนิดเดียวจนลูกกุ้ง มีอายุ 15 วัน แล้วปรับเปลี่ยนเป็นอาร์ทีเมียจนลูกกุ้งมีพัฒนาการเข้าสู่ระยะโพสลาร์วา เนื่องจากช่วยเพิ่มการเจริญเติบโตของลูกกุ้งให้สูงขึ้น และมีพัฒนาการเข้าสู่ระยะโพสลาร์วาเร็วขึ้น