DSpace Repository

Effects of posterior tibial slope restoration difference in cruciate retaining total knee arthroplasty using computer-assisted surgery

Show simple item record

dc.contributor.author Natthaphon Surachtnanan
dc.contributor.author Tipatai Srisomboon
dc.contributor.author Prutpong Saengjumrut
dc.contributor.author Pruk Chaiyakit
dc.contributor.author ณัฐฐพล สุรัชต์หนาแน่น
dc.contributor.author ธิปไตย ศรีสมบูรณ์
dc.contributor.author พฤฒพงศ์ แสงจำรัส
dc.contributor.author พฤกษ์ ไชยกิจ
dc.date.accessioned 2022-07-21T04:59:50Z
dc.date.available 2022-07-21T04:59:50Z
dc.date.issued 2564
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4543
dc.description.abstract บริบท มีหลายการศึกษาพบว่าการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยผ่าตัดสามารถหาความชันของกระดูกทิเบียส่วนบนหรือกระดูกหน้าแข้งขณะผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมซึ่งส่งผลต่อการหาระยะสมดุลในท่างอเข่าและพิสัยการเคลื่อนไหวของข้อเข่าหลังการผ่าตัดข้อเข่าเทียมแบบอนุรักษ์เอ็นไขว้หลัง วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบความเปลี่ยนแปลงของความชันกระดูกหน้าแข้งระหว่างก่อนผ่าตัดและหลังผ่าตัดในผู้ป่วยที่ได้รับการเปลี่ยนข้อเข่าแบบอนุรักษ์เอ็นไขว้หลังโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยผ่าตัด รวมถึงศึกษาผลของการเปลี่ยนแปลงความชันต่อการหาจุดสมดุลในท่างอเข่าหลังการผ่าตัด วิธีการศึกษา ผู้วิจัยศึกษาข้อมูลผลการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าย้อนหลังแบบตัดขวาง โดยก่อนผ่าตัดผู้ป่วยมีอายุ มากกว่า 60 ปีขึ้นไป ได้รับการวินิจฉัยเป็นข้อเข่าเสื่อม สามารถงอเข่าได้มากกว่า 100 องศา และแพทย์วางแผน การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมแบบวิธีอนุรักษ์เอ็นไขว้หลังโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยผ่าตัด (computer-assisted surgery-cruciate retaining-total knee arthroplasty, CAS-CR-TKA) ที่ โรงพยาบาลวชิระพยาบาล ตั้งแต่ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2551 ถึง 31 มีนาคม พ.ศ.2554 ผู้วิจัยแบ่งข้อเข่าที่ได้รับการผ่าตัดเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มควบคุม คือ ข้อเข่าที่ได้รับการผ่าตัดแบบ CAS-CR-TKA และหลังผ่าตัดสามารถงอเข่าได้เท่ากับหรือมากกว่าก่อนการผ่าตัด กลุ่มศึกษา คือ ข้อเข่าที่จำเป็นต้องเปลี่ยนวิธีผ่าตัดในห้องผ่าตัดจากแบบ CAS-CR-TKA ไปเป็นการ ผ่าตัดแบบตัดเอ็นไขว้หลังออกหรือต้องเปลี่ยนเป็นข้อเข่าเทียมแบบทดแทนเอ็นไขว้หลัง (posterior stabilized-total knee arthroplasty, PS-TKA) เนื่องจากไม่สามารถหาระยะสมดุลในท่างอเข่าขณะผ่าตัดได้ หรือหลังผ่าตัด ผู้ป่วยงอเข่าได้น้อยลงกว่าเดิม 15 องศา ผู้วิจัยศึกษาความชันของกระดูกหน้าแข้งทั้งก่อนและหลังการผ่าตัดที่ได้จากภาพคอมพิวเตอร์ช่วยผ่าตัด และภาพถ่ายทางรังสีที่ได้จากก่อนการผ่าตัด และที่ระยะ 1 เดือน 3 เดือน และ 6 เดือนหลังผ่าตัด ผลการศึกษา ผู้ป่วยจำนวน 43 ราย มีจำนวน 46 ข้อเข่า แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมจำนวน 11 ข้อเข่า และกลุ่มศึกษา จำนวน 35 ข้อเข่า ความชันของกระดูกหน้าแข้งระหว่างก่อนผ่าตัดและหลังผ่าตัดของทั้งสองกลุ่มคือ กลุ่มควบคุมและกลุ่มศึกษาไม่มีความแตกต่างกัน แต่พบว่าการเปลี่ยนแปลงความชันของกระดูกหน้าแข้งระหว่างในกลุ่มควบคุม คือ 4.16 องศา และกลุ่มศึกษา คือ 7.64 องศา ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = .01) และ พบว่ากลุ่มศึกษาที่มีการเปลี่ยนแปลงความชัน 7.64 องศา เป็นกลุ่มที่ไม่สามารถหาจุดสมดุลในท่างอเข่าด้วยวิธีผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมแบบอนุรักษ์เอ็นไขว้หลังได้ สรุป การเปลี่ยนแปลงความชันของกระดูกหน้าแข้งระหว่างก่อนและหลังผ่าตัดที่มากเกินไป (ในการศึกษานี้คือมากกว่า 7.64 องศา) จะทำให้ไม่สามารถหาระยะสมดุลในท่างอเข่าขณะผ่าตัด จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงการผ่าตัดเข่าเทียมแบบอนุรักษ์เอ็นไขว้หลังไปเป็นวิธีอื่นแทน th_TH
dc.language.iso en_US th_TH
dc.publisher คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject Tibia th_TH
dc.subject Knee - - Surgery th_TH
dc.subject Total knee replacement th_TH
dc.subject Computer-assisted surgery th_TH
dc.title Effects of posterior tibial slope restoration difference in cruciate retaining total knee arthroplasty using computer-assisted surgery th_TH
dc.title.alternative ผลของการเปลี่ยนแปลงความชันของกระดูกทิเบียส่วนบนต่อการงอเข่าในการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมแบบอนุรักษ์เอ็นไขว้หลังโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยผ่าตัด th_TH
dc.type Article th_TH
dc.issue 2 th_TH
dc.volume 8 th_TH
dc.year 2564 th_TH
dc.description.abstractalternative Context: Studies have shown that the presence of a posterior tibial slope after total knee arthroplasty(TKA), affects both flexion gap balancing and the patient’s range of motion after surgery, especially in cruciate-retaining, computer-assisted total knee arthroplasty surgery. Objective: To compare changes in the position of the posterior tibial slope, pre and post operation, on patients having received CR-TKA (cruciate-retaining total knee arthroplasty). The effects of a change in the posterior slope on flexion gap balancing and knee bending were also studied. Materials and Methods: This was a cross-sectional, retrospective study, performed on computer assisted cruciate-retaining total knee arthroplasty (CAS-CR-TKA) patients at Vajira Hospital, from February of 2008 to March 31st of 2011. Patients with a degree of knee flexion less than 100 degrees were not included in this study. After performing the CAS-CR-TKA, we classified the patients into two groups, as determined by comparing the changes in their posterior tibial slope before and after operation. Changes to the tibial slope were observed via computer and x-ray film. The study group of patients were those needing to either retain their posterior cruciate ligament (PCL), needing to change from CAS-CR-TKA to PS-TKA (posterior stabilized-TKA); or, whose degree of knee bending was less than 15 degrees. The control group of patients were those with an equal or improved degree of knee flexion before taking their CAS-CR-TKA. Results: Slope restoration differences between the study and control groups were statistically significant (7.64 degrees in the study group, and 4.16 degrees in the control group) with p-value at 0.01. The pre and postoperative posterior tibial slope was not different statistically between groups. Conclusions: Posterior tibial slope restoration (changing between pre-operative and postoperative tibial slope) greater than 7.64 degrees will result in inability to find a balance gap during knee flexion and decrease range of motion of the knee after the cruciate-retaining,computer-assisted total knee arthroplasty surgery. th_TH
dc.journal บูรพาเวชสาร th_TH
dc.page 42-54. th_TH


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account