dc.description.abstract |
การวิจัยแบบบรรยายหาความสัมพันธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาชั้นปี 4 หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคตะวันออก จำนวน 156 คน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบประเมินสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพแบบประเมินทัศนคติต่อวิชาชีพ และแบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียรสัน ผลการวิจัยพบว่า สมรรถนะพยาบาลวิชาชีพโดยรวมของนักศึกษาพยาบาลอยู่ในระดับสูง (M = 3.72, S.D. = 0.36) สมรรถนะพยาบาลวิชาชีพระดับสูง ได้แก่ ด้านคุณลักษณะทางวิชาชีพ (ค่าเฉลี่ย = 4.24, S.D. = 0.60) ด้านจริยธรรม จรรยาบรรณและกฎหมาย (ค่าเฉลี่ย = 4.20, S.D. = 0.55) และด้านสังคม (ค่าเฉลี่ย = 3.98, S.D. = 0.71) สมรรถนะพยาบาลวิชาชีพระดับปานกลาง ได้แก่ ด้านภาวะผู้นำ การจัดการและการพัฒนาคุณภาพ (ค่าเฉลี่ย = 3.65, S.D. = 0.51) ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (ค่าเฉลี่ย = 3.64, S.D. = 0.52) ด้านการสื่อสารและสัมพันธภาพ (ค่าเฉลี่ย = 3.63, S.D. = 0.47) ด้านการปฏิบัติการพยาบาลและการผดุงครรภ์ (ค่าเฉลี่ย = 3.62, S.D. = 0.45) และด้านวิชาการและการวิจัย (ค่าเฉลี่ย = 3.39, S.D. = 0.47) ทัศนคติต่อวิชาชีพอยู่ในระดับดีมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.26, S.D. = 0.46) ความฉลาดทางอารมณ์อยู่ในระดับปกติ (ค่าเฉลี่ย = 166.59, S.D. = 13.37) ทัศนคติต่อวิชาชีพ และความฉลาดทางอารมณ์มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลาง (r = .415, p < .01 และ r = .323, p < .01) กับสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่มีความสัมพันธ์กับสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพ ผลการศึกษานี้เสนอแนะว่า ผู้บริหารทางการศึกษาพยาบาลและผู้บริหารทางการพยาบาลควรใช้ข้อค้นพบนี้ในการพัฒนาสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพ ทัศนคติต่อวิชาชีพ และความฉลาดทางอารมณ์ ของนิสิตและพยาบาลจบใหม่ |
th_TH |
dc.description.abstractalternative |
The objectives of this descriptive correlational research were to examine nursing competencies and factors related to nursing competencies. The sample consisted of 156 fourth-year nursing students of the undergraduate program at a University in the Eastern area. The research instruments were the Nurse Competence Questionnaire, the Nurse Attitudes Questionnaire, and the Thai Emotional Intelligence Screening Test. Data were analyzed using descriptive statistics and Pearson’s product-moment correlation.
The results revealed that total nursing competency was at a high level (average = 3.72, S.D. = 0.36). Variables contributing to the high level of nursing competency were professional characteristics of nursing (average = 4.24, S.D. = 0.60), ethics, code of conduct, and the law (average = 4.20, S.D. = 0.55), and social competency (average = 3.98, S.D. = 0.71). Variables contributing to the moderate level of nursing competency were leadership management and quality improvement (average = 3.65, S.D. = 0.51), information technology (average = 3.64, S.D. = 0.52), communication and relationship (average = 3.63, S.D. = 0.47), core nursing and midwifery practice (average = 3.62, S.D. = 0.45), and academic and research competency (average = 3.39, S.D. = 0.47). Nursing attitude was at the excellence level (average = 4.26, S.D. = 0.46). Emotional quotient was at the normal level (average = 166.59, S.D. = 13.37). Nursing attitude and emotional quotient had significant positive correlations (r = .415, p < .01, r = .323, p <.01, respectively) with nursing competency. However, there was no relationship between academic achievement (GPA) and nursing competency. The results suggest that directors of nursing educational institutions and nursing administrators should use the findings to enhance nursing competency, nursing attitude and emotional quotient among nursing students and new graduates. |
th_TH |