DSpace Repository

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุในพื้นที่เหตุการณ์รุนแรง จังหวัดปัตตานี

Show simple item record

dc.contributor.author อัสมีรา มะเก
dc.contributor.author จิณห์จุฑา ชัยเสนา ดาลลาส
dc.contributor.author ชนัดดา แนบเกษร
dc.date.accessioned 2022-07-15T06:47:26Z
dc.date.available 2022-07-15T06:47:26Z
dc.date.issued 2565
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4519
dc.description.abstract ภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุในพื้นที่เหตุการณ์รุนแรง จังหวัดปัตตานี กลุ่มตัวอย่างจำนวน 155 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอนและมีคุณสมบัติตรงตามงานวิจัยกำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์ทดสอบสภาพสมองเบื้องต้น 2) แบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคล 3) แบบสัมภาษณ์ภาวะซึมเศร้า 4) แบบสัมภาษณ์สัมพันธภาพในครอบครัว 5) แบบสัมภาษณ์การรับรู้เหตุการณ์รุนแรง 6) แบบสัมภาษณ์การสนับสนุนทางสังคม และ 7) แบบสัมภาษณ์ความเข้มแข็งทางใจ ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคของแบบสัมภาษณ์ในส่วนที่ 2-7 อยู่ระหว่าง .08-.89 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีภาวะซึมเศร้าระดับสูง ร้อยละ 75.5 ปัจจัยที่สามารถทำนายภาวะซึมเศร้าของกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การรับรู้เหตุการณ์รุนแรง (β = .349, p <.001) และความเข้มแข็งทางใจ (β = .203, p <.05) โดยสามารถร่วมกันทำนายภาวะซึมเศร้าของกลุ่มตัวอย่างได้ร้อยละ 18.7 (R2 = .187, p <.05) ซึ่งแสดงให้เห็นว่า การรับรู้เหตุการณ์รุนแรงและความเข้มแข็งทางใจเป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุในพื้นที่เหตุการณ์รุนแรง ดังนั้นพยาบาลวิชาชีพ บุคลากรด้านสุขภาพที่ดูแลเกี่ยวกับผู้สูงอายุควรให้ความสำคัญในด้านจิตใจ โดยคำนึงถึงปัจจัยดังกล่าวเพื่อส่งเสริมสุขภาพจิตและป้องกันภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.title ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุในพื้นที่เหตุการณ์รุนแรง จังหวัดปัตตานี th_TH
dc.title.alternative Factors Influencing Depression among The Elderly in the Trouble area Pattani Province th_TH
dc.type Article th_TH
dc.issue 101-112. th_TH
dc.volume 30 th_TH
dc.year 2565 th_TH
dc.description.abstractalternative Depression is a significant factor affecting the quality of life in older adults. This research aimed to study the factors influencing depression among the elderly in the trouble area, Pattani Province. A Multi-stage random sampling technique was used to recruit 155 older adults who met the inclusion criteria. The screening tools used were the Thai Mini-Mental State Examination and the TMSE scale. The data was collected using six research instruments: 1) Personal information record, 2) Depression interview, 3) Family relationship interview, 4) Perception of violent events interview, 5) Social support interview, and 6) Resilience interview. The Cronbach’s alpha coefficients of the instruments ranged from .80 to .89. Descriptive statistics and stepwise multiple regression analysis were employed for data analyses. The results revealed that about 75.5 percent of the sample had a higher level of depression. Factors such as perception of violent events (β = .349, p < .001) and resilience (β = .203, p < .05) significantly predicted depression. These two factors explained 18.7 percent of the variance for depression in older adults (R2 = .187, p < .05). The results confirm that perception of violent events and resilience influenced depression among older adults living in the trouble area. Therefore, nurses and the health care providers who work with the elderly need to focus more on their psychological care and rely on factors that promote mental health and prevent depression in the elderly. th_TH
dc.keyword ภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ th_TH
dc.keyword ความเข้มแข็งทางใจ th_TH
dc.journal วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account