dc.contributor.author |
ชุติมา ฉันทมิตรโอภาส |
|
dc.contributor.author |
ดารัสนี โพธารส |
|
dc.contributor.author |
พิชญาภา พิชะยะ |
|
dc.date.accessioned |
2022-07-15T04:52:49Z |
|
dc.date.available |
2022-07-15T04:52:49Z |
|
dc.date.issued |
2565 |
|
dc.identifier.uri |
http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4514 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยเชิงพรรณาแบบหาความสัมพันธ์เชิงทำนายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการการดูแลแบบสนับสนุนของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมและปัจจัยที่ร่วมกันทำนายความต้องการการดูแลแบบสนับสนุนของผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ซึ่งประกอบด้วย อายุ ความวิตกกังวล และอาการซึมเศร้า กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยหญิงที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งเต้านมมีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป มารับบริการในโรงพยาบาลมะเร็งชลบุรี จำนวน 77 คน ซึ่งได้มาด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลทางคลินิก แบบประเมินความต้องการของผู้ป่วยมะเร็ง และแบบสอบถามความวิตกกังวลและอาการซึมเศร้า ระหว่างเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2562 ถึง เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุเฉลี่ย 48.62 ปี เป็นผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะที่ 2 และอยู่ระหว่างติดตามการรักษาเป็นส่วนใหญ่ กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 19.5 มีความวิตกกังวลสูง และร้อยละ 14.3 มีอาการซึมเศร้าสูง ผู้ป่วยมีความต้องการดูแลแบบสนับสนุนในด้านการดูแลและการสนับสนุนมากที่สุด
(M = 47.73, SD = 25.46) สำหรับเรื่องที่ต้องการการดูแลมากที่สุดคือ ความกังวลเกี่ยวกับบุคคลที่ใกล้ชิด (ร้อยละ 50.65) และความกลัวเกี่ยวกับการแพร่กระจายของมะเร็ง (ร้อยละ 49.35) นอกจากนี้พบว่า อาการซึมเศร้า (β = 0.34, p < .05) เป็นปัจจัยทำนายความต้องการการดูแลแบบสนับสนุนของผู้ป่วยมะเร็งเต้านม โดยสามารถทำนายความต้องการการดูแลได้ ร้อยละ 10.6 (adj. R2 = .106, p < .05) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่า ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมมีความต้องการการดูแลแบบสนับสนุนหลากหลายในแต่ละด้าน พยาบาลควรให้ความใส่ใจในการตอบสนองความต้องการการดูแลของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมมากขึ้น โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีอาการซึมเศร้า ควรมีการศึกษาความต้องการการดูแลแบบสนับสนุนของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมเพิ่มเติมในพื้นที่ต่าง ๆ และตามระยะวิถีการดำเนินของโรค |
th_TH |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.publisher |
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
th_TH |
dc.subject |
มะเร็งเต้านม |
th_TH |
dc.subject |
ความวิตกกังวล |
th_TH |
dc.title |
ความต้องการการดูแลแบบสนับสนุนและปัจจัยทำนายความต้องการการดูแลของผู้ป่วยมะเร็งเต้านม |
th_TH |
dc.title.alternative |
Supportive Care Needs and Its Predictors among Patients with Breast Cancer |
th_TH |
dc.type |
Article |
th_TH |
dc.issue |
2 |
th_TH |
dc.volume |
30 |
th_TH |
dc.year |
2565 |
th_TH |
dc.description.abstractalternative |
The predictive correlation study aimed to determine the supportive care needs and its
predicting factors, such as age, anxiety, and depression among patients with breast cancer.
Seventy-seven breast cancer patients aged 20 years or older receiving treatment at Chon Buri Cancer
Hospital were recruited for the study using a simple random technique. Questionnaires were used to
gather the personal and clinical data. It included the Supportive Care Needs Survey- Short Form 34
(SCNS-SF34) Thai version, the Thai Hospital Anxiety and Depression Scale (Thai HADS). Data collection
was conducted from August 2019 to February 2020. Descriptive statistics and stepwise multiple
regression analysis were used for data analysis.
The results revealed that most participants had a mean age of 48.07 years old, stage 2 breast
cancer, and received regular follow-up. Around 19.5% and 14.3% of the participants had severe
anxiety and depression. The highest supportive care needs were the needs of patient care and support
domain (M = 47.73, SD = 25.46). The most prevalent supportive care needs were concerns about
breast cancer patients’ closed ones (50.65%) and fear of cancer spreading (49.35%). Depression
(β = 0.34, p = .002) was a significant factor that explained 10.6% of the variance in the supportive care
needs (adj. R2
= .106, p < .05). The findings suggest that breast cancer patients have various
supportive care needs in different domains. Nurses should focus more on fulfilling the supportive care
needs of breast cancer patients, especially those with depression. Further research is needed to
comprehensively understand the supportive care needs in different areas and disease trajectories. |
th_TH |
dc.keyword |
อาการซึมเศร้า |
th_TH |
dc.journal |
วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
th_TH |
dc.page |
25-39. |
th_TH |