dc.contributor.author |
ณชนก เอียดสุย |
|
dc.contributor.author |
วริษา กันบัวลา |
|
dc.contributor.author |
ชุติมา ฉันทมิตรโอภาส |
|
dc.date.accessioned |
2022-07-15T03:33:54Z |
|
dc.date.available |
2022-07-15T03:33:54Z |
|
dc.date.issued |
2565 |
|
dc.identifier.uri |
http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4513 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของรูปแบบการติดตามและจัดการอาการด้วยสื่อดิจิทัลต่อกลุ่มอาการภายหลังสมองบาดเจ็บในผู้ป่วยบาดเจ็บที่สมองระดับเล็กน้อย กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ป่วยบาดเจ็บที่สมองระดับเล็กน้อยซึ่งมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 60 คน สุ่มอย่างง่ายเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับการพยาบาลตามรูปแบบการติดตามและจัดการอาการด้วยสื่อดิจิทัล ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ประกอบด้วย รูปแบบการติดตามและจัดการอาการด้วยสื่อดิจิทัล วีดิทัศน์กลวิธีการจัดการอาการในรูปแบบการ์ตูนแอนนิเมชั่นใช้หลักการอินโฟกราฟิก และคู่มือการจัดการอาการใช้หลักอินโฟกราฟิก เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และแบบสอบถามกลุ่มอาการภายหลังสมองบาดเจ็บ เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนกันยายน พ.ศ. 2563 ถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2564 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และสถิติทดสอบค่าที
ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีกลุ่มอาการภายหลังสมองบาดเจ็บหลังจากได้รับรูปแบบการติดตามและจัดการอาการด้วยสื่อดิจิทัล น้อยกว่าก่อนทดลอง และน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 10.145, p < .001; t = 5.845, p < .001 ตามลำดับ) จากผลการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า รูปแบบการติดตามและจัดการอาการด้วยสื่อดิจิทัลสามารถช่วยลดกลุ่มอาการภายหลังสมองบาดเจ็บได้ พยาบาลควรจะใช้รูปแบบการติดตามและจัดการอาการด้วยสื่อดิจิทัลนี้เพื่อช่วยบรรเทากลุ่มอาการภายหลังสมองบาดเจ็บให้แก่ผู้ป่วยบาดเจ็บที่สมองระดับเล็กน้อยก่อนจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล |
th_TH |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.publisher |
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
th_TH |
dc.subject |
ศีรษะบาดเจ็บ |
th_TH |
dc.subject |
สมอง - - ความผิดปกติ |
th_TH |
dc.subject |
อาการ (โรค) |
th_TH |
dc.title |
ผลของรูปแบบการติดตามและจัดการอาการด้วยสื่อดิจิทัลต่อกลุ่มอาการภายหลังสมองบาดเจ็บในผู้ป่วยบาดเจ็บที่สมองระดับเล็กน้อย |
th_TH |
dc.title.alternative |
The Effect of Digital Media Symptom Monitoring and Management on Post-Concussion Syndrome in Patients with Mild Head Injury |
th_TH |
dc.type |
Article |
th_TH |
dc.issue |
2 |
th_TH |
dc.volume |
30 |
th_TH |
dc.year |
2565 |
th_TH |
dc.description.abstractalternative |
This quasi-experimental research aimed to study the effect of symptom monitoring and
management using digital media on the post-concussion syndrome in patients with a mild head injury. The samples were mild head injury patients based on the criteria and assigned to the experimental and control groups using a simple random sampling method. The experimental group received symptom monitoring and management using digital media, while the control group received the usual nursing care. The experimental tools included digital media for symptom monitoring and management, an animated infographic video, and an infographic handbook. Data collection tools comprised the Demographic form and the Rivermead Post-Concussion Symptoms Questionnaire (RPQ).
Descriptive statistics and an independent sample t-test were used to analyze the data.
The results revealed that patients in the experimental group had a significantly lower mean
score for post-concussion syndrome after using digital media symptom monitoring and management. These mean scores were less than in the control group (p < .001). The results also implied that digital media symptom monitoring and management could decrease post-concussion syndrome after mild head injury. Nurses can use this management to support patients with mild head injuries before being discharged from the hospital. |
th_TH |
dc.journal |
วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
th_TH |
dc.page |
1-12. |
th_TH |