Abstract:
การทดลองในครั้งนี้ได้แบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกทำการศึกษาถึงความดกของไข่ (Fecundity) และความสัมพันธ์ของอัตราการฟักของลุกปูม้า กับน้ำหนักตัว ความกว้างและความยาวของกระดองปูม้า 1 แม่ จากการศึกษาพบว่า ความดกของไข่และอัตราการฟักของลูกปู มีความสัมพนธ์ (P<0.01) กับน้ำหนัก ความกว้างและความยาวของแม่ปูดังแสดงในสมการความสัมพันธ์ที่สร้างขึ้น
ส่วนที่ 2 ทำการอนุบาลลูกปูม้าในบ่อดิน จำนวน 3 บ่อ มีความหนาแน่น 10 ตัวต่อลิตร โดยปล่อยลูกปูที่เพิ่งฟัก บ่อละ 1 ล้านตัว ทำการอนุบาลซ้ำ รวมทั้งสิ้น 5 ครั้ง ด้วยกัน ใช้เวลาในการอนุบาลแต่ละครั้ง ตั้งแต่ 30-45 วัน โดยอนุบาลตั้งแต่ลูกปูฟักออกเป็นตัวจนถึงลูกปูเปลี่ยนรูปร่าง (Metamorphosis) เป็นลูกปูขั้นมีกระดองระยะแรก และอนุบาลต่ออีก 15-30 วัน ตลอดระยะเวลาการทดลองไม่มีการให้อาหารแต่ทำการใส่ปุ๋ยเคมีเป็นระยะ เพื่อเพิ่มผลผลิตแพลงก์ตอนที่เนอาหารของลูกปู ทำการตรวจสอบคุณสมบัติน้ำ และแพลงก์ตอนสัตว์ที่เกิดขึ้นในบ่อทดลองเป็นระยะ ผลการทดลองพบว่าสามารถควบคุมปริมาณของแพลงก์ตอนสัตว์ที่เป็นอาหารของลูกปูให้มีจำนวนแพลงก์ตอนสัตว์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแพลงก์ตอนสัตว์ในกลุ่มครัสตาเชียนเท่ากับ 365+19.0 ตัวต่อลิตร ลูกปูใช้เวลาการพัฒนาจากระยะซูเอีย เข้าสู่ระยะเมกาลอบใช้เวลา 12 วัน และเข้าสู่ระยะมีกระดองระยะแรก (First crab stage) เมื่ออายุได้ 16 วันเมื่ออนุบาลต่ออีกประมาณ 15 วัน ลูกปูมีน้ำหนัก ความกว้าง และความยาวกระดองเฉลี่ยเท่ากับ 0.64+0.11 กรัม 10.9+1.0 มิลลิเมตร 21.7+2.3 มิลลิเมตร ตามลำดับ และเมื่ออนุบาลต่ออีก 15 วัน จนลูกปูมีอายุ 45 วัน ลูกปูมีน้ำหนัก ความกว้างและความยาวกระดองเฉลี่ยเท่ากับ 1.35 กรัม 15.0+2.9 มิลลิเมตร 28.8+2.3 มิลลิเมตร โดยมีอัตรารอดเฉลี่ยเท่ากับ 0.1%