DSpace Repository

การประพันธ์เพลงระบำโบราณคดี ชุดปราสาทเขาน้อยสีชมพู

Show simple item record

dc.contributor.author กิตติภัณฑ์ ชิตเทพ
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะดนตรีและการแสดง th
dc.date.accessioned 2022-06-21T09:11:43Z
dc.date.available 2022-06-21T09:11:43Z
dc.date.issued 2564
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4476
dc.description งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนวิจัยจากคณะดนตรีและการแสดง มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๓ th_TH
dc.description.abstract งานวิจัยเรื่อง การประพันธ์เพลงระบำปราสาทเขาน้อยสีชมพูเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาบริบทที่เกี่ยวข้องกับโบราณสถานปราสาทเขาน้อยสีชมพู ตำบลคลองน้ำใส อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว และประพันธ์เพลงระบำปราสาทเขาน้อยสีชมพู จากการศึกษาพบว่าปราสาทเขาน้อยสีชมพู ตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลคลองน้ำใส อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ถูกสร้างในพุทธศตวรรษที่ ๑๒ เชื่อว่าเป็นศาสนสถาน ประกอบด้วยปราสาท ๓ หลังคือ ปรางค์ทิศเหนือ ปรางค์องค์กลาง และวิหารทิศใต้ แต่คงเหลือเพียงปรางค์องค์กลางเท่านั้นที่ยังคงสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ มีการขุดพบโบราณวัตถุจำนวนมาก ที่สาคัญคือพบแผ่นจารึกบ่งบอกถึงอายุการสร้างปราสาทที่เรียกว่า จารึกเขาน้อย ที่ระบุศักราชเก่าที่สุดในประเทศ ในพื้นที่ชุมชนคลองน้ำใส ไม่ปรากฏพบวัฒนธรรมด้านดนตรีพื้นบ้าน ด้านความเชื่อและประเพณีที่เกี่ยวกับปราสาทเขาน้อยสีชมพูพบว่า ชาวบ้านมีประเพณีบุญขึ้นเขา มีการบวงสรวงปราสาทเขาน้อยสีชมพูในช่วงวันขึ้น ๑๕ ค่าเดือน ๖ รวมไปถึงมีพิธีเจริญพระพุทธมนต์ ถวายภัตตาหารเพล สักการะรอยพระพุทธบาท ก่อเจดีย์ทรายและมีมหรสพรื่นเริง เพลงระบำปราสาทเขาน้อยสีชมพู ประกอบด้วยทำนองอัตราจังหวะสองชั้น ๓ ท่อน ที่สะท้อนถึง ประการแรก ลักษณะทางสถาปัตยกรรมของปราสาทเขาน้อยสีชมพู ที่ประกอบด้วยอาคาร ๓ หลัง และประการที่สอง ปราสาทเขาน้อยสีชมพูตั้งอยู่บริเวณภูเขาที่เรียงติดกัน ๓ ลูก ในอดีตปราสาทเขาน้อยสีชมพูที่เคยถูกผืนดินฝังอยู่กลางป่าบนภูเขา จนมีผู้สำรวจขุดค้นและศึกษา ทำให้ปราสาทเขาน้อยสีชมพูกลายเป็นโบราณสถานที่สำคัญ จากนั้นจึงต่อด้วยทำนองเพลงอัตราจังหวะชั้นเดียว แสดงถึงวิถีชีวิต ประเพณีและความเชื่อของคนในชุมชน การประพันธ์ทำนองเพลงในลักษณะสำเนียงเขมรเป็นหลักที่แสดงถึงการนำเสนอร่องรอยอารยะธรรมเขมรโบราณ และสำเนียงลาวที่สื่อถึงชาวชุมชนคลองน้ำใสที่เป็นชาวไทยญ้อ สังคีตลักษณ์ปรากฏในรูปแบบทำนองเพลง ๔ ท่อนที่ไม่เกี่ยวข้องกัน จังหวะฉิ่งที่อัตราจังหวะสองชั้นและชั้นเดียวแบบสามัญ จังหวะหน้าทับหน้าทับเขมรและหน้าทับแบบพิเศษในช่วงทำนองเพลงเร็วที่เป็นสำเนียงลาว พบการใช้บันไดเสียงทางชวา และบันไดเสียงทางเพียงออบนตามลำดับ การดำเนินทำนองของบทเพลงเป็นการดำเนินทำนองแบบกึ่งบังคับทาง ไม่ปรากฏพบการบรรเลงแบบอัตลักษณ์เข้าแบบ เพลงระบาปราสาทเขาน้อยสีชมพูจึงเป็นผลงานสร้างสรรค์ด้านดุริยางคศิลป์สื่อถึงตัวโบราณสถานปราสาทเขาน้อยสีชมพู ชาวไทยญ้อในชุมชนคลองน้ำใสที่สามารถเชื่อมโยงเอาวิถีชีวิต ชุมชน ความเชื่อประเพณีและศิลปกรรมเข้าไว้ด้วยกัน th_TH
dc.description.sponsorship คณะดนตรีและการแสดง มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะดนตรีและการแสดง มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject การแต่งเพลง th_TH
dc.subject การแต่งคำประพันธ์ th_TH
dc.subject เพลงไทย th_TH
dc.title การประพันธ์เพลงระบำโบราณคดี ชุดปราสาทเขาน้อยสีชมพู th_TH
dc.title.alternative Music Composition of an Archeological Dance: Prasat Kaonoi Si Chompoo en
dc.type Research th_TH
dc.author.email kittipanc@buu.ac.th th_TH
dc.year 2564 th_TH
dc.description.abstractalternative The present study is a qualitative research entitled Music Composition of an Archeological Dance: Prasat Kaonoi Si Chompoo. The study aims to investigate the context of Prasart Kaonoi Si Chompoo, Tamnbon Klong Namsai, Amphoe Aranyaprated, Srakao province, and to compose a Thai traditional piece called Rabam Prasat Kaonoi Si Chompoo. Prasat Kaonoi Si Chompoo is located on Tamnbon Klong Namsai, Amphoe Aranyaprated, Srakao province. It was built in the 12th century B.E. as a religious place consists of 3 pagodas which is the only middle pagoda that is in good condition. The archaeological antiques were found including the Kaonoi tablet which shows the oldest era of Thailand. There was no culture of folk music found in the area of Klong Namsai community. According to the villager’s belief, there is a tradition called Boon Khuen Kao, the villagers are worshiping and making merit in the 15th day of the waxing moon in the 6th lunar month including monk ceremony, offering food to the monks, paying homage to the Buddha footprint as a festival. Rabam Prasat Kaonoi Si Chompoo consists of the melody in the third variation which express of 1) the architect of the three pagodas 2) the pagoda is on the top of three mountains. In the pass, Prasat Kaonoi Si Chompoo was buried underground, therefore became an important pace after the discovering. The melody in the second variation was connected afterwards which express of the way of living, tradition, and belief of Klong Namsai people. The musical composition of Rabam Prasat Kaonoi Si Chompoo uses the musical intonation as Khmer accent to represent the Cambodian civilization and the Laos accent to represent the Thai-Yor people. The musical form has four movements independently. The normal Ching rhythmic pattern in second variation and first variation were used, there were two of Natab or drum rhythmic patterns such as Natab Khmer in Khmer accent melody and a special Natab in Laos accent melody. There were two musical scales used such as Chawa, and Piang-or Bon in order. The melody was semi-general melodic line and there was no stock character used in the piece. The Rabam Prasat Kaonoi Si Chompoo was a Thai traditional music composition represents the archaeological site ‘Prasat Kaonoi Si Chompoo’ and Thai-Yor local people of Klong Namsai community which connected the way of living, tradition, and belief together. en
dc.keyword สาขาปรัชญา th_TH


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account