DSpace Repository

การศึกษาผลการเสริมฤทธิ์ของมะเขือเทศราชินีด้วยวิตามินซีต่อความสามารถในการต้านสารอนุมูลอิสระและการออกฤทธิ์ต้านเชื้อจุลชีพ

Show simple item record

dc.contributor.author นิรมล ธรรมวิริยสติ
dc.contributor.author ปองรุ้ง จันทรเจริญ
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสหเวชศาสตร์ th
dc.date.accessioned 2022-06-21T07:00:24Z
dc.date.available 2022-06-21T07:00:24Z
dc.date.issued 2557
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4466
dc.description งานวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนจากงบประมาณแผ่นดิน ด้านการวิจัยปีงบประมาณ 2556 th_TH
dc.description.abstract มะเขือเทศราชินีเป็นพืชชนิดหนึ่งที่อุดมไปด้วยคุณค่าทางอาหาร นิยมใช้รับประทานสด และ แปรรูปเป็นผลไม้แช่อิ่ม สามารถนำมาใช้เป็นพืชสมุนไพรแต่ยังไม่มีการรายงานผลในการรักษาเป็นที่ ชัดเจน การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณสมบัติของมะเขือเทศต่อความสามารถในการต้าน สารอนุมูลอิสระและการออกฤทธิ์ต้านเชื้อจุลชีพ ผลการสกัดโดยใช้น้ำปราศจากเชื้อและเอทานอลเป็น ตัวทำละลาย พบว่า เมื่อสกัดมะเขือเทศราชินีด้วยน้ำปราศจากเชื้อที่ความเข้มข้นน้ำหนักสด 50 กรัม ต่อมิลลิลิตร มีปริมาณวิตามินซีเท่ากับ 0.32 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร และเมื่อสกัดด้วยเอทานอลที่ความ เข้มข้นน้ำหนักสด 1.67 กรัมต่อมิลลิลิตร มีปริมาณวิตามินเอเท่ากับ 0.009 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร สาร สกัดที่ได้นำมาศึกษาฤทธิ์การต้านเชื้อจุลชีพ จำนวน 6 สายพันธุ์ ได้แก่ Staphylococcus aureus, Streptococcus pyogenes, Escherichia coli, Pseudomonas aeruginosa, Candida albican และ Candida tropicalis ด้วยวิธี broth dilution test พบว่า ค่าความเข้มข้นต่ำสุดในการยับยั้ง เชื้อ (Minimal Inhibitory Concentration; MIC) ของสารสกัดจากมะเขือเทศราชินีด้วยน้ำ ปราศจากเชื้อ แสดงฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ S. pyogenes เท่ากับ 25 กรัมต่อมิลลิลิตร สารสกัดมะเขือเทศ ราชินีด้วยเอทานอลแสดงฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ S. pyogenes และ Ps. aeruginosa มีค่า MIC เท่ากับ 0.7 และ 0.6 กรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ ในขณะที่วิตามินซีบริสุทธิ์สามารถยับยั้งเชื้อจุลชีพได้ทั้ง 6 ชนิด โดยมี ค่า MIC ยับยั้งเชื้อ S. aureus, S. pyogenes และ Ps. aeruginosa เท่ากับ 3×10-5 มิลลิกรัม ต่อมิลลิลิตร, เชื้อ E. coli มีค่า MIC เท่ากับ 4.5×10-5 มิลลิกรัมต่อมิลิลิตร, เชื้อ C. albican และ C. tropicalis มีค่า MIC เท่ากับ 5×10-5 มิลลิกรัมต่อมิลิลิตร ตามลำดับ ส่วนสารละลาย β-carotene ไม่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลชีพได้ เมื่อทำการวิเคราะห์ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี FRAP (ferric reducing-antioxidant power) สารสกัดจากมะเขือเทศราชินีที่สกัดด้วยเอทานอลมี ค่า FRAP Value เท่ากับ 61.00±7.19 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ซึ่งมีความสามารถในการรีดิวซ์เฟอริกได้ ดีกว่าสารสกัดด้วยน้ำปราศจากเชื้อซึ่งมีค่า FRAP value เท่ากับ 40.09±3.81 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ผลของ DPPH (free radical scavenging) assay พบว่าสารสกัดมะเขือเทศที่สกัดด้วยเอทานอล สามารถยับยั้งอนุมูลอิสระได้ร้อยละ 50 ที่ค่า 0.55 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ซึ่งมีฤทธิ์ในการยับยั้ง อนุมูลอิสระได้ดีกว่าสารสกัดด้วยน้ำที่มีความสามารถที่ยับยั้งอนุมูลอิสระได้ร้อยละ 50 ที่ค่า 2.33 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ผลการศึกษาในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าสารสกัดมะเขือเทศด้วยเอทานอลสามารถออกฤทธิ์ต้านเชื้อจุลชีพและต้านอนุมูลอิสระได้ดีกว่าเมื่อสกัดด้วยน้ำ ซึ่งความรู้เหล่านี้สามารถนำไปสู่การพัฒนา ปรับปรุง และแปรรูปอาหารเพื่อเพิ่มคุณค่าของผลิตภัณฑ์ต่อสุขภาพมากยิ่งขึ้น th_TH
dc.description.sponsorship สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject มะเขือเทศ - - พันธุ์ราชินี th_TH
dc.subject สารต้านจุลชีพ th_TH
dc.subject สารสกัดจากพืช - - การวิเคราะห์ th_TH
dc.subject แอนติออกซิแดนท์ th_TH
dc.subject อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ th_TH
dc.subject เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) th_TH
dc.title การศึกษาผลการเสริมฤทธิ์ของมะเขือเทศราชินีด้วยวิตามินซีต่อความสามารถในการต้านสารอนุมูลอิสระและการออกฤทธิ์ต้านเชื้อจุลชีพ th_TH
dc.title.alternative Effect of antioxidant and antimicrobial activities of Solanum lycopersicum L. var. cerasiforme together with vitamin C. en
dc.type Research th_TH
dc.author.email niramon@buu.ac.th th_TH
dc.author.email pongrung@buu.ac.th th_TH
dc.year 2557 th_TH
dc.description.abstractalternative Apart from using cherry tomato (Solanum lycopersicum L. var. cerasiforme) to eat fresh or cook for health benefits, it is also used as herbal medicine. However, there is no report on application as medical control. The objective of this research was to study the effect of antioxidant and antimicrobial activities of cherry tomatoes. This research studied the inhibition of cherry tomato crude extract on pathogenic microbes. Fresh cherry tomato extracts by water with concentration 50 g/mL contain 0.32 mg/mL of vitamin C, and its extracts by absolute ethanol with concentration 1.67 g/mL contain 0.009 mg/mL of vitamin A. The crude exacts were used to test for inhibitory effect of six microbes including Escherichia coli, Staphylococcus aureus, Streptococcus pyogenes, Pseudomonas aeruginosa, Candida albican and Candida tropicalis by broth dilution methods. The result demonstrated that Minimal Inhibitory Concentration (MIC) of cherry tomato extracts by using water to S. pyogenes was 25 g/mL. MIC of cherry tomato extracts by using absolute ethanol to S. pyogenes and Ps. aeruginosa were 0.7 and 0.6 g/mL, respectively. While vitamin C could inhibit the growth of six microbes, MIC of S. aureus, S. pyogenes and Ps. aeruginosa were 3×10-5 mg/mL, MIC of E. coli was 4.5×10-5 mg/mL, MIC of C. albican and C. tropicalis were 5×10-5 mg/mL, respectively. It was found that FRAP value of cherry tomato extracts by etanol was 61.00±7.19 mg/mL while FRAP value of cherry tomato extracts by water was 40.09±3.81 mg/mL. 50% DPPH inhibition of cherry tomato extracts by etanol was 0.55 g/mL while that of extracts by water was 2.33 g/mL. It has been showed that ethanol was better solvent for extract cherry tomatoes because of high inhibition of bactericidal activity and effect of antioxidant activities. Therefore, fresh crude tomato extracts have a significant potential benefit of health. en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account